ถามตอบปัญหา การติดตั้ง Internet Server ด้วย Linux

รวมคำถามที่มีผู้สอบถามเข้ามา

Back to previous page
กลับหน้าที่แล้ว

ดูสารบัญปัญหา
Home
กลับหน้าแรก
-- Line --
เรื่องทั่วไป
Q0.1 CD ที่แถมไปคืออะไร และสงสัยเรื่องเวอร์ชั่นของ CD ?
A0.1 แถมพร้อมหนังสือการติดตั้ง Internet Server ด้วย Linux ISBN 974-90261-3-6 คือ
แผ่นโปรแกรมสำหรับติดตั้ง Linux for Server ตัวเต็ม ที่สามารถนำไปติดตั้งลงในเครื่องของท่าน แล้วทำตามที่แนะนำไว้ในหนังสือได้ครบถ้วน ไม่จำเป็นต้องหาเพิ่มจากแหล่งอื่น จึงทำให้สามารถนำใช้งานได้จริง ถูกต้องตามกฎหมายด้านลิกขสิทธิ และได้ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีสเถียรภาพดี ซึ่งแผ่นติดตั่งนี้ได้ปรับปรุงมาส่วนประกอบต่างๆให้เหมาะสำหรับการใช้งาน Linux ในลักษณะเป็น Server โดยเฉพาะมาแล้ว โดยตัดส่วนที่เปลืองทรัพยากรเครื่องเกินความจำเป็นสำหรับการใช้งานในลักษณะ Server ที่ดีออก และเพิ่ม Tool ต่างๆ สำหรับการดูแล และการบริหารจัดการระบบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือโปรแกรมสำหรับ Linux ที่อ้างถึงไว้ในหนังสือไว้ให้แล้ว โดยไม่ต้องหา Download เอง เข้าไว้ในแผ่นด้วยแล้ว
ส่วนรายละเอียด ของโปรแกรมต่างๆที่บรรจุไว้ในแผ่น Linux for server เวอร์ชั่น 2.0 ที่แถมไปให้ คลิกดูรายละเอียดที่นี่.
Q0.2 การติดตั้ง Linux ยากกว่าการติดตั้ง Windows จริงหรือไม่ ?
A0.2 ถ้าจะเปรียบเทียบกันจริงๆ แล้ว ไม่ยากกว่าเลย อาจง่ายกว่าเสียด้วยซ้ำ แต่สาเหตุที่ดูแล้วรู้สึกยากเพราะ
    - การลง Linux มักจะสอน ให้ทำเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การแบ่ง Partition และ Format Harddisk ซึ่งผู้ที่เคยใช้ Windows มักไม่เคยทำขั้นตอนนี้เลย (ที่จริง Windows ก็จำเป็นต้องทำเหมือนกัน แต่ช่างที่ร้านขาย เขาทำให้แล้วโดยที่เราไม่รู้ )
    - การใช้ Linux มักจะต้องกำหนดค่า Network เพราะคนเล่น Linux มักจะใช้ในการบริการเครือข่าย แต่ขณะที่ ผู้ใช้ Windows ตามบ้าน มักไม่ค่อยได้ใช้ Lan หรือหรือไม่ก็เป็นเพียงลูกข่าย จึงไม่ค่อยรู้ว่าต้องมีพื้นฐานทาง Network อยู่บ้าง
    ดังนั้น ถ้าตัดสองขั้นตอนนี้ออก การติดตั้ง Linux ก็จะง่ายมาก [Enter] อย่างเดียวก็เสร็จ เพราะ Linux มีระบบ Auto detect hardware เลือกลง Driver ให้พอสมควรอยู่แล้ว แต่ถ้าจะลง Windows ตั้งแต่ แบ่ง Partition เองให้ได้ดังใจ จนถึงลงโปรแกรมควบคุมบริหารเน็ตเวิร์คได้ ก็คงไม่ง่ายเท่าไหร่จริงใหมครับ
Q0.3 กดแป้น [Tab] แล้วไม่ขึ้นคำสั่ง ?
A0.3 สาเหตุมักเกิดจากคำสั่งบรรทัดที่กำลังพิมพ์ไม่ถูกต้อง หรือพิมพ์ตัวพิมพ์ใหญ่เล็กไม่ตรง ให้ลองกด BackSpace ลบออกพิมพ์ใหม่ แล้วลองอีกครั้ง
Q0.4 เรียกคำสั่งเพื่อ Set ระบบบางคำสั่ง หรือสั่ง Shutdown ไม่ได้ ?
A0.4 ในบางคำสั่งต้องเป็นผู้ดูแลระบบ(Login เป็น root) เท่านั้นจึงจะสามารถใช้งานได้ ถ้า Login เป็น User จะไม่มีสิทธิ์.
Q0.5 กดปุ่มเอา CD ออกจาก Drive ไม่ได้ ?
A0.5 จะต้องยกเลิกการ mount cd ก่อนจึงจะเอา cd ออกได้ ด้วยคำสั่ง umount /mnt/cdrom หรือคำสั่ง eject ครับ.
Q0.6 ติดตั้ง Linux ไปแล้วจะลบออกเพื่อลง Windows กลับคืนได้หรือไม่ ?
A0.6 ได้ครับ แต่เนื่องจากโปรแกรม fdisk ของ DOS ไม่รู้จัก Partition ของ Linux ดังนักการลบ Partition ทำได้โดยใช้ fdisk ที่มีให้ในแผ่นเป็นตัวลบ Partition ตามหน้า 2-10 ย่อหน้าที่ 3 หรือใช้โปรแกรม Partition magic เป็นเครื่องมือช่วยก็ได้.
Q0.7 Mount CD แล้วค้างนิ่ง ?
A0.7 ปัญหานี้ไม่ค่อยได้พบบ่อยนัก แต่มีผู้ถามมาคิดว่าน่าจะมีประโยชน์อยู่บ้างจึงนำมาตอบ ที่ค้างนิ่งอาจเป็นเพราะตัว CD Drive ไม่ค่อยดี อ่านไม่เก่งแล้ว หรือหัวอ่านมีฝุ่นจับเยอะ หรือแผ่น CD เป็นรอยเยอะ หรืออาจจะเป็นในบางรุ่นที่ QC. ต่ำ เพราะเมื่อ mount cd Linux จะเปิดการเชื่อมต่อกับ CD ด้วยคำสั่งระดับล่าง ที่ควบคุม cd ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตามสเป็คของ CD และจะรอคอยคำตอบที่ Hardware ส่งกลับมา แต่ cd ไม่ยอมตอบกลับสักทีเลยรอเกอ ให้ ลองทำดังนี้.
   - พิมพ์ eject [Enter] เครื่องจะเปิด CD ออกมาเอง แล้วหยิบแผ่น CD ออกหมุนแผ่น 90 องศาแล้ววางลงไปคืน พิมพ์ mount /dev/cdrom [Enter] เครื่องจะดึง CD กลับเข้าไปคืน จะต้องไม่รายงาน Error แล้วจะใช้งานต่อได้ ถ้าทำแล้วเป็นอยู่เรื่อยๆ ให้ลองเช็คที่สายแพ IDE ว่าต่อแน่นดีใหม ให้ดึงออกเสียบใหม่ดู หรือไม่ก็ถอดสลับตัว cd drive กับเครื่อง อื่นดูเพื่อจะดีขึ้น ถ้ายังไม่หายอีกก็น่าจะเป็นที่ Controller.
   - ถ้ารอครู่ใหญ่แล้วเคอร์เซอร์ไม่กลับมาให้พิมพ์เลย กดปุ่ม eject ที่ cd แล้วยังเฉย ให้ทดลองเป็นลำดับดังนี้ กด Ctrl-c ถ้ายังไม่ยอมมาอีก ลองกด 3 ปุ่ม พิฆาต Ctrl-Alt-Del เพื่อ Restart ถ้ายังดื้ออีก ก็ต้องใช้ไม้ตายคือ กดปุ่ม Power ที่หน้าเครื่องแช่ไว้ 5 วินาที ถ้ายังดื้ออีก น่าจะเป็นที่ Mainboard หรือ Power แล้วละ ให้ใช้ไม้ตายสุดท้ายคือ ถอดปลั๊กเสียบใหม่ Boot ดูอีกสักรอบ
   (ปัญหาในข้อนี้มักจะเกิดจาก Hardware ล้วนๆไม่ค่อยจะเกี่ยวกับ OS ถ้าใช้ของดีจะไม่ค่อยพบปัญหานี้ แต่เคยพบบ้างในเครื่องที่เลือกใช้ชิ้นส่วนยี่ห้อ "ถูกเข้าว่า" เพราะเป็นเกรดไม่ต้อง QC. มีผู้ไปกว้านซื้อมาในราคาถูกๆ ทดลองเองใช้งานพื้นๆ ทั่วไปใช้ได้ก็นำมาขายในบ้านเรา แต่ถ้าใช้งานเต็มพิกัดแล้ว ไม่มันใจว่าใช้ได้ครบทุกฟังก์ชั่นหรือไม่ ก็ไม่รู้ และอาจเพิ่มความมึนงงให้ผู้ดูใช้เครื่องอย่างมาก ถ้าใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้างตามอารมณ์ ไม่เต็มร้อย แต่มันไม่ถึงกับเสียเคลมก็ไม่ได้ ยิ่งสำหรับผู้ใช้เครื่องไม่คล่อง จะทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่า สั่งผิด หรือเป็นที่เครื่องกันแน่ )
Q0.8 ใช้ Linux เป็น Server แล้วลูกข่ายต้องเป็น Linux ด้วยหรือไม่ ?
A0.8 ไม่มีความจำเป็นจะต้องเป็น OS ชนิดเดียวกัน เช่นตัวแม่ อาจเป็น Netware ตัวลูกเป็น DOS หรือตัวแม่เป็น Linux ตัวลูกเป็น Windows ก็ไม่แปลกอะไร ดังเช่น ISP ที่ขายซอง Internet ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็น Windows แต่ลูกข่ายผู้ซื้อซองเน็ตฯ มักใช้ Windows หมุนโมเด็มไป ก็ใช้งานกันเป็นปกติ เพราะ โปรแกรมที่อยู่บนเครื่องแม่ทำหน้าที่ เก็บข้อมูล ส่งผ่านข้อมูล ให้บริการเครื่องอื่นๆ แก่เครื่องที่เชื่อมต่อ Network กันอยู่ ส่วนโปรแกรมที่อยู่ในเครื่องลูก (Work Station) มีหน้าทีให้ผู้ใช้งานปฏิบัติงาน ซึ่งมีหน้าที่ แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่เครื่องสามารถติดต่อกันด้วยมาตรฐาน (Protocol) เดียวกันจึงจะคุยกันรู้เรื่อง ( ในระบบ Internet ใช้ Protocol TCP/IP ) .
Q0.9 ทำตามบทที่ 2,3,4,5,6,7 ได้แล้ว ทดสอบที่เครื่อง Linux ผ่านหมด ที่เครื่องลูกข่าย ping เครื่องแม่ก็เจอแต่ใช้บริการต่างๆ และออกอินเตอร์เน็ตไม่ได้ ?
A0.9 คาดว่าปัญหาน่าจะเกิดจากการที่ยังไม่ได้เปิด firewall ซึ่งจะอยู่ในบทถัดๆไป ซึ่งมีบทสรุปให้ลองทำตามหมายเหตุหน้า 3-6 เมื่อแก้ไขครบแล้วค่อยลองต่อโมเด็มเพื่อทดสอบดูใหม่นะครับ (ในขณะทดสอบควรเลือกซอง internet ยี่ห้อที่ชัวร์ๆ ที่เป็นเบอร์ภายในจังหวัดท่าน ไม่ใช้ 1222 ไปก่อน เพื่อจะได้พบปัญหาน้อยลงก่อน เดี๋ยวจะแยกไม่ออกว่าเป็นที่ ISP หรือเซ็ตเครื่องไม่ถูกต้อง เมื่อใช้งานได้แล้วแสดงว่าเซ็ตเครื่องถูกต้อง ค่อยลองทดสอบกับ ISP รายอื่นๆตามต้องการ)
    ดังนั้นถ้าทำเรียงตามบทจะสามารถใช้การได้ทุกบทครับ ซึ่งการเรียงบทในหนังสือนี้จะแยกเป็นเรื่องๆ ท่านต้องการเรื่องใดให้ทำเรื่องนั้น แต่ถ้าต้องการหลายอย่างก็ต้องทำหลายบทเช่น "ทำเวปมีชื่อของตัว ต่ออินเตอร์เน็ตเองแชร์ให้ลูกข่าย" ก็ต้องทำ 4 บท คือ Web server, DNS, Dial, Firewall เป็นต้น (บทที 1-3 เป็นภาคบังคับต้องทำเตรียมเป็นพื้นฐานก่อนอยู่แล้ว บทอื่นจะทำก่อนหลังอย่างไรก็ได้ซึ่งความจำเป็นของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน)
    และขอแนะนำให้อ่านข้อความโดยละเอียดทุกบรรทัด รวมทั้งคำแนะนำหรือหมายเหตุทุกหน้ามีความหมาย เพราะรายละเอียดในหนังสือส่วนใหญ่ได้เพิ่มเติม และปรับปรุงจากคำถามต่างๆ ที่พบในขณะจัดฝึกอบรม แก่คณะต่างๆมาแล้วกว่า 2000 ท่าน จึงได้ออกมาเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ที่ท่านมีอยู่ครับ ถ้าทำได้ครบมักจะไม่เกิดปัญหา หรือจะทราบปัญหาและแก้ไขได้ถูกต้อง
Q0.10 ต้องการใช้ร่วมกับ PHP ได้หรือไม่ ?
A0.10 ใช้ได้เลยครับในแผ่นมีให้พร้อม เป็นเวอร์ชั่น php-4.1.2-7.2.4 แต่ถ้าท่านใดไม่ได้เลือกติดตั้งไว้ก่อน ต้องการติดตั้งเองภายหลังจากการติดตั้ง Linux ไปแล้ว สามารถติดเพิ่มได้ โดย ใส่ cd ที่แถมไปให้ พิมพ์
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/php-4.1.2 [Tab]
และบางท่านที่ลงไม่ผ่าน เพราะลง library ไว้ไม่ครบ หรือติดตั้งจากเวอร์ชั่นอื่น ไม่ได้ติดตั้งจากแผ่นที่แถมไปให้ ต้องติดตั้งเพิ่มก่อนดังนี้
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/gd-1 [Tab]
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/libjpeg-6 [Tab]
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/curl-7.8 [Tab]
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/libtool-libs [Tab]
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/pspell-0.12 [Tab]
ก่อนค่อยลง rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/php-4.1.2 [Tab]
(Red hat บางเวอร์ชั่นอาจจะต้องลงมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ และ PHP อาจเป็นคนละเวอร์ชั่นกัน เช่น Red hat 7.2 จะเป็น php-4.0.6-7 เป็นต้น)

    ในการใช้ php สำหรับ php เวอร์ชั่นหลังๆ การเขียน Script ภาษา PHP ในไฟล์ HTML ที่ทำงานบนเครื่องที่สามารถใช้งานได้หลายๆภาษา ค่า config เขามักจะตั้งมาให้พิมพ์รูปแบบเต็มเท่านั้น <?php - - - ?> เพื่อไม่ให้สับสนกับภาษาอื่นที่อาจมีรูปแบบภาษา ใกล้เคียงกัน แต่ถ้าต้องการให้ใช้รูปแบบย่อได้ ต้องแก้ไขในไฟล์ php.ini ข้อความ
    short_open_tag = On
    เมื่อแก้เป็น On แล้วจึงจะใช้รูปแบบย่อ <? - - - ?> ได้ครับ
Q0.11 ต้องการใช้ร่วมกับ MySQL ได้หรือไม่ ?
A0.11 ใช้ได้เลยครับในแผ่นมีให้พร้อม เป็น MySQL เวอร์ชั่น 3.23.41 แต่ถ้าท่านใดไม่ได้เลือกติดตั้งไว้ก่อน ต้องการติดตั้งเองภายหลังจากการติดตั้ง Linux ไปแล้ว สามารถติดเพิ่มได้ โดย ใส่ cd ที่แถมไปให้ พิมพ์
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/mysql-3.23 [Tab]
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/mysql-server [Tab]
เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้วให้ติดตั้งฐานข้อมูล พิมพ์ mysql_install [Tab]
สั่ง Restart พิมพ์ /etc/init.d/mysqld restart
แต่ถ้าจะใช้ร่วมกับ PHP ด้วยต้องลง เพิ่มอีกตัว (ลงหลังจากติดตั้ง Mysql และ PHP แล้ว)
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/php-my [Tab]
เท่านี้ก็สามารถใช้งานได้ แต่อย่าลืมพิมพ์ ntsysv เพื่อทำ * หน้า mysqld ด้วยจะได้ทำงานทุกครั้งที่ boot ใหม่
แต่ถ้า mysql_install ไม่ผ่านหรือทำตามไม่ได้สักที ลอง df ดูว่า Partition ใดเต็มหรือเปล่า เช่น /tmp มีขยะเต็มแล้ว partition นี้ลบไฟล์ทิ้งได้
(ตัวอย่างการนำไปใช้งานจริง PHP + MySQL)
Q0.12 User จะสามารถใช้ Mysql แยกกันแต่ละ User ได้หรือไม่ เหมือนกับที่ไปเช่ากับ Hosting เราจะต้อง Config อย่างไร ?
A0.12 User ของ MySQL จะเป็นของตัวเอง เป็นคนละ user กับ linux ครับ ท่านสามารถกำหนด user ได้ ดังข้อ A0.14
    ส่วนการแบ่งให้เช่า Server เขาทำกันได้หลายแบบเช่น
    - แบบให้เช่า Server จริงๆ ก็ทำเหมือนในหนังสือทุกประการ 1 IP เป็น 1 ผู้เช่า ซึ่งผู้เช่าสามารถใช้บริการทุกอย่างที่เราติดตั้งไว้ให้ ไม่ต้อง config อะไรพิเศษนอกจากกำหนดสิทธิให้ผู้เช่าได้ใช้งาน
    - อีกแบบให้เช่าเฉพาะอย่าง เช่นพื้นที่ web เขาก็ทำ Virtual host ตามหน้าที่ 6-5 และจะให้ใช้อะไรในเครื่องเราเพิ่มเติมอีก ก็กำหนดสิทธิอนุญาตให้เขาไป
ดังนั้นท่านจะสามารถแบ่งขายหรือให้เช่า Database แก่ใครด้วย ก็ขึ้นอยู่ที่จะกำหนดให้ใครได้ใช้ และมีสิทธิแค่ใหนครับ
Q0.13 ถ้าหา PhpMyadmin หรือโปรแกรม MySQL Client อื่นๆ มาลงเพิ่ม ต้อง Config Linux for Server 2.0 เพิ่มเติมอย่างไรครับ ?
A0.13 ไม่ต้อง Config หรือไปหาเพิ่มเติมแต่ประการใด เพราะในแผ่นมีให้ พร้อมใช้งานแล้ว ยกเว้นการเพิ่ม User ให้ MySQL ดังข้อA0.14 และกำหนดให้กับโปรแกรมอื่นๆ ที่ท่านมาลงเพิ่มให้ตรงกันก็จะใช้ได้ครับ เช่น PhpMyadmin ค่าเริ่มต้นจะ login ด้วย root ไม่มี Password ถ้าท่านยังไม่แก้ไขทั้ง Mysql และ PhpMyadmin จะสามารถใช้งานได้ทันที แต่ถ้าท่านแก้ Password ของ MySQL ไปแล้วจะต้องแก้ที่ PhpMyadmin ด้วยดังนี้
pico   -w   +75   /var/www/html/phpmyadmin/config.inc.php
แล้วใส่ password ตามที่ต้องการ แต่ระวังอย่าให้ตกบรรทัด ถ้าขึ้นบรรทัดใหม่ไปแล้วต้องดึงมาคืนด้วยเดี๋ยวจะ Error
Q0.14 จะเพิ่ม User ให้กับ Mysql ได้อย่างไร ?
A0.14 การเก็บ User ของ MySQL จะเก็บเป็น Database ชื่อ mysql ใน Table ชื่อ user ซึ่งประกอบด้วย สิทธิการเข้าใช้จากเครื่องใด , User name , สิทธิการเข้าถึงข้อมูลอย่างไรบ้าง หรือจะใช้คำสังของ SQL การเพิ่ม user โดยตรงก็ได้ตามความถนัด ซึ่งท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเรื่องเกี่ยวกับการใช้ SQL
    User คนแรกที่ระบบสร้างให้เมื่อติดตั้งเสร็จ มีอยู่แล้วชื่อ "root" ไม่มี password สามารถ login จาก localhost ได้ทันที เพื่อให้ผู้ดูแลระบบเข้าไปใช้งานได้ก่อน (เรียก mysql ในเครื่อง linux) แต่ไม่อนุญาตให้ login จากเครื่องอื่น (รวมทั้งโปรแกรม MySQL Client อื่นๆ) แล้วค่อยเข้าไปแก้ไข ใส่ password และเพิ่ม user ได้เท่าที่ต้องการ
ตัวอย่างการวิธีการเขียนลงฐานข้อมูลโดยตรงเพื่อเพิ่ม User กำหนดให้เรียกใช้งานจากเครื่องใดบ้าง เช่น ต้องการเพิ่ม user สามารถใช้งานจากเครื่องอื่น ได้ทุกเครื่อง ชื่อ "myadmin" password คือ "pwd1234" มีสิทธิทำงานได้ทุกอย่าง
ให้ login Linux ด้วย root แล้วพิมพ์ดังนี้

mysql
use mysql ;
insert into user values ('%', 'myadmin', password('pwd1234'), 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y', 'Y') ;
exit
/etc/init.d/mysqld restart

ดังนั้นท่านจะอนุญาตให้ใครใช้ หรือแบ่งให้เช่า Database แก่ใครก็อยู่ที่จะกำหนดนี้ว่า ให้ใครใช้ มีสิทธิแค่ใหน และสร้างไว้กี่ Database ก็ได้ครับ

   ส่วนรายละเอี่ยดเกี่ยวกับ PHP และ MySQL เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่อง (เป็นวิชาเรียนได้อีกหนึ่งถึงสองวิชา) จึงไม่สามารถเขียนรวม ในหนังสือเล่มนี้ได้ เพราะวัตถุประสงค์ของหนังสือ คือต้องการให้ท่านสามารถติดตั้ง internet server สำหรับทำใช้เองได้ในขั้นต้นก่อน เพื่อไม่ให้มันจะหนาและยากเกินไป แล้วผู้อ่านจะท้อใจเสียก่อน จะเข้าใจผิดคิดว่า linux ยาก แต่ที่จริง windows ที่ว่าง่ายกว่า ก็เพราะเรายังไม่ได้ทำเป็น internet server แบบครบๆ อย่างมากก็แค่ share file หรือลง ics เท่านั้น server อื่นๆ ยังไม่ได้ทำเลย แต่พอจับ linux ก็เอาทุกอย่างเลย ทั่งๆ ที่ไม่เคยได้ทำใน windows มาก่อนเลย (ถ้าทำใน windows ให้ได้เท่ากันก็ไม่หมูไปกว่ากันสักเท่าไร แต่แพงกว่าแน่นอน) เท่ากับเรียนรู้ใหม่หมด เลยดูเหมือนยากสำหรับผู้เริ่มต้น ในเล่มนี้จึงไม่รวม การใช้ภาษา PHP และการทำ Database Server ไว้ แต่ถ้าผมมีโอกาส หรือมีแรงบรรดาลใจพออาจะเขียนเรื่องนี้โดยตรงอีกเล่ม ในสไตลเดิมคือ ทำตามแล้วใช้งานได้บรรลุวัตถุประสงค์ผู้ใช้งาน และใช้คำศัพท์ยาก หรือทฤษฎีเท่าที่จำเป็นครับผม ถ้าท่านต้องการแนะนำอะไรก็ เสนอแนะมาได้นะครับ (คลิกที่นี่) ขอน้อมรับคำติชม และขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
Q0.15 ใช้กับ CPU Hyper Threading ได้หรือไม่ ?
A0.15 เฉพาะผู้ที่ต้องการใช้ CPU Hyper Threading มีความจำเป็นต้องใช้ Kernal ที่ตัวใหญ่ขึ้น และรู้จัก Hardware มากขึ้น แต่ กรุณาติดต่อ เพื่อขอสั่งซื้อ Ver 2.02 Kernal เป็นรุ่น (2.4.20-28.7) ที่การใช้งานยังเหมือนเดิม ท่านสามารถขอโดยตรงจากผู้เขียน (บุญลือ) โดยขอค่าใช้จ่ายในการทำสำเนาและจัดส่งเป็นเงิน 100 บาท หรือติดต่อผ่านสำนักพิมพ์ จะอำนวยความสะดวกให้ท่านในราคาเดียวกัน (รวมค่าจัดส่งแล้ว) และโปรด คลิกดูการโอนเงิน
Q0.16 การติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ต้องทำอย่างไร ?
A0.16 เนื่องจากปัจจุบัมี Linux หลายเวอร์ชั่น และมีอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นใหม่ๆ จำนวนมากที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Modem USB ADSL LAN ฯลฯ เขาไม่สามารถจะทำ Driver ที่รองรับทุก OS ได้ เหมือน Driver ใน Windows ที่ต้องทำ Driver สำหรับ dos - 98 - 2k - xp ให้เลือกลงคนละตัวกัน ดังนั้นเขาจึงนิยมทำ Driver ให้แบบกึ่งสำเร็จรูปมาให้ ในรูปแบบสไตล์แตกต่างกันตามความถนัด
    - บ้างก็เป็น Source code ภาษา C (จะเป็นไฟล์ จุด.c) เราต้องนำมา Compile เองจะสามารถใช้กับ Linux ได้ทุกเวอร์ชั่น เมื่อ Compile จะได้เป็น Object ไฟล์ (จะเป็นไฟล์ จุด.o)
    - บ้างก็ Compile มาให้แล้วเป็น Object ไฟล์ (จะเป็นไฟล์ จุด.o)
    - บ้างก็ทำเป็นตัวติดตั้ง rpm ให้เลย (จะเป็นไฟล์ จุด.rpm) เพื่อให้สะดวกใช้งาน แต่จะต้องอ้างอิงกับเวอร์ชั่นเท่านั้น ดังนั้นผู้ผลิตบางราย เขาจึงทำให้เรา Rebuild ใหม่จากไฟล์ จุด.src.rpm ตามกรรมวิธีที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ มักจะบอกกล่าวไว้ในไฟล์ Readme ที่อยู่ในแผ่น Driver ที่แถมมากับอุปกรณ์นั้นๆ จึงควรอ่านและทำตามคำแนะนำให้ถูกต้อง ก็จะสามารถใช้งานได้โดยสมบูรณ์
    แต่ก็เคยพบปัญหาอยู่บ้างที่ไม่สามารถทำตามคำแนะนำนั้นได้ สาเหตุอาจเกิดจากการติดตั้งโปรแกรมในเครื่องเราที่มีอยู่ ไม่ตรงกับที่ต้องการ ดังนั้นถ้าพบปัญหาอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมบางตัวเพิ่ม (มีให้ในแผ่นซีดีอยู่แล้ว) ลองอ่านคำแนะนำที่ อ.บุญลือแนะนำมาดังต่อไปนี้

    - การสั่ง rpm --rebuild ชื่อไฟล์ .src.rpm เป็นการนำ source code มา compile ใหม่ หากตอนที่จะ rebuild rpm ไม่สำเร็จอาจเป็นเพราะในเครื่องเรายังไม่มี /usr/src/redhat อยู่ ดังนั้นผู้ที่จะทำตรงนี้ได้ ต้องลงโปรแกรม kernel-source (มีอยู่ในแผ่นแล้ว โดยใช้คำสั่ง rpm -ivh ดังที่เคยทำเหมือนติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ) จึงจะสามารถ compile โปรแกรมได้ เมื่อได้ติด kernel-source แล้วมันจะไปสร้าง /usr/src/redhat ให้เอง และเวลาที่ทำการ compile มันต้องการใช้ภาษา C เช่น gcc และ module ที่ร่วมทำงานด้วย มันจะแจ้งให้ทราบว่าขาดอะไรให้ลงตามที่มันแจ้งให้ครบ เพียงเท่านี้จะสามารถ compile โปรแกรมอะไรก็ได้ครับ
    - หากในแผ่นมีแต่ source code ภาษาซี เป็น *.c ให้อ่านคู่มือดูว่าเขาต้องใช้ C compiler ตัวไหน ส่วนมากแนะนำให้ใช้ gcc จะดีที่สุดมีมาให้ในแผ่นแล้วครับ ส่วนการ compile ต้องใส่ parameter อะไรบ้าง ในคู่มือ driver จะบอกมาให้ครับ หลัง compile เสร็จจะได้ไฟล์ชนิด object นามสกุล *.o ครับ ให้ copy ไปไว้ใน /lib/modules/2.4.x/driver... ให้ใส่ให้ตรงกับอุปกรณ์เช่นหากเป็นอุปกรณ์ประเภท usb ก็ใส่ใน folder usb ครับ จากนั้นให้ทดลองเรียก #insmod ชื่อไฟล์.o ดูหากมันยอมทำงานได้แสดงว่าเมื่อเรา boot เครื่องใหม่ มันจะ detect อุปกรณ์ที่นำมาต่อเพิ่มและ add driver ให้ครับ แต่ถ้ามันไม่ยอมก็ต้องบังคับด้วยการ พิมพ์ค่าไว้ใน /etc/rc.local ดังนี้ insmod /path/xxx.o (path หมายถึงไดเร็กทอรีที่เก็บไฟล์ .o หลัง compile) จากนั้นให้ boot เครื่อง driver จะทำงานได้ครับ
    - การที่จะตรวจสอบว่า driver ใช้ได้หรือไม่ ให้ดูจาก เวลาเรียกใช้เช่นสั่ง insmod xx.o มันจะบอกเราว่ามันต้องการ kernel version อะไรครับ เรื่องนี้ไม่ต้องกังวล เวลาเรา compile มันสามารถระบุ kernel หรือมันจะรวมค่า version ของเราไปด้วย ใช้ได้ 100 % ครับ
Q0.17 คอมพายไดร์เวอร์ไม่ได้ ?
A0.17 การคอมพายไดร์เวอร์ หรือต้องการติดตั้ง บางอย่างที่ต้องการ kernel-source จำเป็นต้องลงโปรแกรมเหล่านี้เพิ่มเพื่อให้สามารถคอมพายได้ (มีในแผ่นที่แถมไปให้อยู่แล้ว ให้ใส่แผ่น CD แล้ว mount /dev/cdrom เหมือนเคย แล้วติดตั้งตามนี้ได้เลย)
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/kernel-headers-2.4.9-34.i386.rpm
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/binutils-2.11.90.0.8-12.i386.rpm
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/cpp-2.96-108.7.2.i386.rpm
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/glibc-devel-2.2.5-34.i386.rpm
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/gcc-2.96-108.7.2.i386.rpm
rpm -ivh /mnt/cdrom/RedHat/RPMS/kernel-source-2.4.9-34.i386.rpm
Q0.18 Linux ที่เราใช้อยู่ตกรุ่น สมควร Upgrade Version ใหม่หรือยัง ?
A0.18 สำหรับผู้ที่ชอบความใหม่สดเสมอ จำเป็นต้องตามล่าหาเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดอยู่ตลอดไป เพราะ Radhat ล่าสุดที่ได้มายังไม่ทันได้ศึกษาหรือ Install เลยไม่นานก็จะตกรุ่นอีกแล้ว server เราก็เลยไม่นิ่ง ไม่ได้เป็นมืออาชีพรุ่นเก๋าเสียที และ Linux ของแต่ละค่าย ไม่ว่าจะเป็น Redhat, Mandrake, Slacware, ทะเล เป็นผู้ทำตัว Install ให้เราติดตั้ง กำหนดแลขเวอร์ชั้นตามลำดับของตัวเอง จึงทำให้ ไม่สามารถเทียนลำดับความใหม่ โดยดูจากตัวเลขเวอร์ชั่นไม่ได้ จำเป็นต้องเทียบรุ่นโดยดูที่ Kernal ของ Linux และเวอร์ชั่นของโปรแกรมเสริมต่างๆ แบบตัวต่อตัว ดูตัวอย่าง ซึ่งในแต่ละค่ายมีโปรแกรมเสริมพิเศษต่างๆ สำหรับการทำ Server ที่แตกต่างกัน ถ้าต้องการติดตั้ง Linux โดยใช้โปรแกรมใหม่จากแหล่งอื่น โดยหลักการแล้วยังสามารถใช้แนวทางจากหนังสือเล่มนี้ได้ ถ้าขาดโปรแกรมใด จะต้องหา Download บางโปรแกรมมาเพิ่มเอง จึงจะทำตามหนังสือนี้ได้ครบ (เวอร์ชั่นที่แถมไปกับหนังสือ จะมีโปรแกรมต่างๆที่อ้างถึงในเล่มให้ครบสมบูรณ์ไม่ต้อง download เพิ่มเติมใดๆ) แต่รูปแบบคำสั่ง ที่อยู่การเก็บไฟล์ อาจย้ายไปอยู่คนละที่กัน และการ config ระบบรักษาความปลอดภัยอาจใช้วิธีการที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดย concept ยังคงไม่แตกต่างกันนัก
    สำหรับผู้ ชำนาญแล้ว และชื่นชอบความความนำสมัย ไม่ว่าท่านจะใช้เวอร์ชั่นใดอยู่ก็ตาม ท่าน สำหรับผู้สามารถ Download Kernal ได้ฟรีมา upgrade ติดตั้งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด bata test ก็ยังได้ รับประกันความอินเทรน ใหม่กว่า Redhed ล่าสุดที่ยังไม่วางตลาดครับ ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.linux.org
    ดังนันการพิจารณาว่าเราสมควร หรือมีจำเป็นในการเปลี่ยนเวอร์ชั่นให้สูงขึ้น หรือยังควรพิจารณาจาก 3 กรณีต่อไปนี้คือ
    1. มีความจำเป็นต้องใช้งาน Internet Application มากกว่าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ที่ Server ไม่สามารรองรับได้ ซึ่งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ก็ไม่เห็นมีความต้องการอะไรที่เพิ่ม ขึ้นจากเดิมเช่น www mail ftp dhcp dns samba mysql ฯลฯ ไม่เหมือนกับเครื่อง workstration ที่มักนิยม โปรแกรมรุ่นใหม่ หรือมีเกมส์ใหม่ๆ ล่าสุดเสมอ แต่เป็น server มืออาชีพเขาไม่นิยมกัน เพราะการเปลี่ยนรุ่น หมายความว่าโปรแกรมต่างๆ ที่เขามีวิ่งอยู่มนระบบ ปรับปรุ่งจนใช้งานได้ดีอยู่แล้ว อาจจะ ต้องเขียนโปรแกรมโปรแกรมกันใหม่ ถ้าบางคำสั่งไม่รองรับกัน ดังเช่นในภาษา php แต่ละ เวอร์ชั่น ใช้วิธีการส่งผ่านตัวแปรแตกต่างกัน และบางคำสั่งมีการยกเลิกใช้ในเวอร์ชั่นใหม่ จึงเห็นว่า web hostting อาชีพทั้งหลายส่วนใหญยังใช้ ver 7 กันอยู่เลย
    2. kernal ไม่รองรับกับ Hardware ใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่หมายความว่า ตัวใหม่ ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น มี Driver มากขึ้น แลกกับการทำงานที่ช้าลง และต้องการ hardware ที่สูงขึ้น จึงจำทำงานได้เร็วเท่าเดิม เหมือนกับลง xp ในเครื่องรุ่นเก่าที่เคย ใช้งานได้ ต้องเพิ่ม RAM CPU เพื่อให้ทำงานได้เร็วเท่าตอนลง 98 เดิม สำหรับเวอร์ชั่น 2.0 ที่แถมไปให้ รองรับ CPU ถึง P4 และการใช้งานทั่วไป ถึงการตั้งตัว เป็น ISP ทำซองเน็ตฯขายได้แล้ว ขาดแต่ไม่รองรับ CPU Hyper Threading ถ้าต้องการใช้ CPU นี้ทำ Server สามารถสั่ง copy เวอร์ชั้น 2.02 bata ซึ่งเป็น Kernal ใหม่กว่า ติดต่อได้ที่ผู้เขียน หรือทางบริษัทฯ มาที่ผมได้โดยตรง คิดค่าทำแผ่นรวมค่าจัด 100 บาทครับ
    3. ความเท่ นำสมัยไม่น้อยหน้าใคร เมื่อไปคุยกับผู้มีความรู้อยู้บ้าง(เป็นบางส่วน) ว่าเราก็ไม่ตกรุ่น ความต้องการนี้ห้ามกันไม่ได้ เพราะเรายังอยู่ในเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิวตาตาม      ส่วนที่ว่ารุ่นใหม่ มีระบบรักษาความปลอดภัยดีขึ้นกว่ารุ่นเก่า ก็จริงเพราะ เหมือนบ้านเก่า ที่ใช้กันมานาน ขโมยรู้ทางแล้ว เมื่อเป็นบ้านใหม่ เขาก็แกล้งสร้างให้ที่อยู่ไฟล์ และการเซตค่าต่างๆ ไปซ่อนไว้คนละที่ ขโมยก็ยังหาทางไม่เจอ เดี๋ยวพอขโมยเขาเริ่มเจอแล้วเราต้องหารุ่นๆใหม่ๆต่อไป ไม่รู้จบ จึงไม่น่าจะเป็นเหตุผลในการเปลี่ยนเวอร์ชั่น เพราะถึงแม้ว่าเป็นเวอร์ชั่นเก่า เราก็สามารถ ทำให้ปลอดภัยได้ ถ้ารู้จักวิธีการเซต และปรับแต่งในสไตล์เรา ไม่เหมือนค่ามาตรฐานในแต่ละ เวอร์ชั่นที่มีใช้กัน รับรองว่า hacker เข้ามาก็งงแล้ว ไม่รู้จะอิงเวอร์ชั่นใหน ทำไม่ผู้จัดการเปลี้ยนไป๋
    แต่ถ้าให้ผมแนะนำว่า ถ้ามีเครื่องสเป็กสูงๆดังกล่าว ให้เอาเครื่องนี้ไว้ทำงาน Multimedia หรือเล่นเกมส์ ที่ต้องการใช้ Hardware สูงๆดีกว่า ส่วนทำ Linux internet server ผมเคยลอง ใช้ P3 กับเครื่องลูกข่าย ใช้งานพร้อมกัน 80 เครื่อง Moniter ดูยังใช้กำลัง CPU เฉลี่ยไม่ถึง 60% แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ งานหนักจริงๆ ก็อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องระดับสูงก็เป็นได้ แต่คงติดคอขวดที่การ์ดแลน กับจราจนบนสายเน็ตเวิร์ค หรือความเร็วของ BUS บนเมนบอร์ด และ Harddisk เสียก่อนถึงจุด CPU ทำงานไม่ทันแน่ๆ เลย เพราะหน้าที่ของ Server คือรับส่งข้อมูล เป็นหลัก ไม่ใช้ประมวลผลทางคณิตศาสตร์ ภาพและเสียง เหมือนเครื่อง Workstration
    และถ้ามีโอกาสผู้เขียนจะพัฒนาเป็นเวอร์ชั้นที่สูงขึ้นตาม ด้วยเหตุผลในข้อ 2 หรือ 3 ตามกลไกตลาด แต่ตอนนี้ขอรอดูสถานการณ์ และรอดูเวอร์ชั่นต่างๆ ให้ผู้แต่งมีเวลาทำ เพื่อคัดเลือก และปรับแต่งให้เหมาะสมใช้งานได้ เป็นอย่างดี มี bug ให้เหลือน้อยที่สุดก่อนนะครับ แล้วจะคลอดเวอร์ชั่นใหม่หรือไม่ ออกเมื่อไร ค่อยว่ากันอีกที่
Q0.19 การ copy file ใน Linux ลง floppy ทำอย่างไร ?
A0.19 ตัวอย่าง
ขั้นที่ 1 mount floppy ตามหนังสือเล่มเล็กหน้า 114 แล้ว floppy จะอยู่ที่ /mnt/floppy ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ format ของ dos หรือของ linux ตามชอบ (ถ้าแผ่น format ด้วย dos หรือ windows มาแล้วก็สามารถนำมาใช้ได้ โดยใช้ type เป็น msdos)
ขั้นที่ 2 การ copy ใน Linux ใช้คำสั่ง cp (ดูใน linux เล่มเล็กหน้า 72)
    copy ไป floppy cp * /mnt/floppy
    copy จาก floppy cp /mnt/floppy /ที่ไว้ปลายทาง
ขั้นที่ 3 ข้อสำคัญ ก่อนเเอาแผ่น disk ออก ต้อง umount หน้า 147 ก่อนเสมอ ห้ามลืมเด็จขาดมิฉนั้นแผ่นนี้จะใช้งานไม่ได้ อาจต้อง format ใหม่
Q0.20 ปัญหาเกียวกับ Username และ Password ?
A0.20 user password ใน Linux ถูกเก็บในไฟล์
    /etc/passwd เก็บชื่อและรายละเอียด
    /etc/shadow เก็บรหัสผ่านแบบเข้ารหัส
    /etc/group เก็บกลุ่มผู้ใช้
ท่านสามารถ copy เหล่านี้ไว้เพื่อ copy คืนได้ แต่ต้องเป็น Linux Version เดียวกัน จึงจะสามารถโอนสิทธิการ Login ได้ ส่วนโปรแกรมอื่นๆเช่น Sanba จะมีไฟล์เก็บ User password ของตัวเองตามที่ระบุในไฟล์ smb.conf
    ส่วนข้อมูลของ User ทั้งหมดจะอยู่ที่ /home ครับ ถ้า root เป็นคน copy มาลงสิทธิจะเป็นของ root อย่าลืมโอนสิทธิให้ user ด้วย (คำสั่ง chown -R /home/...user.dir..name..)
    และมีอีกวิธีในการเพิ่ม User เป็นจำนวนมากๆ สามารถใช้โปรแกรม webmin ที่มีแถมให้ในแผ่นอยู่แล้ว แต่ไม่ได้สอนวิธีใช้ให้ เพียง rpm (ดูหน่า 18-2) แล้วไปใช้เครื่องลูกเปิด web ใช้งานได้เลยเป็น GUI อยู่แล้ว
    เมื่อ login ด้วย root แล้วจะอยู่ในส่วนของ system / user and group ดูการใช้ที่ Create, modify and delete users from batch file
    **ข้อควรระวัง ไม่ควรเข้าไปเซตบางเมนูที่ไม่เข้าใจ อาจทำให้ระบบถูกแก้ไขให้เปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้วจะกลับคืนไม่ถูก ให้ศึกษาการใช้ด้วยตนเองนะครับ ไม่ได้แนะนำเพราะมีรายละเอียดนอกเหนือจากหนังสือเล่มนี้มาก เหมือนเป็นคู่มือคนละเล่ม จะทำให้ผู้ใช้เพื่อการศึกษาและใช้งานในเบื้องต้นสับสนได้ครับ
Q0.21 ลง Linux Server กับ Windows ลงในเครื่องเดียวกันต้องทำอย่างไร ?
A0.21 ก็ขอตอบรวมๆกับคำถามอื่นที่ใกล้เคียงกัน เพราะมีบางท่านเข้าใจไม่ตรงทางนัก คิดว่าจะเอา Linux ไปลงใน Windows เหมือนการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมของ windows จึงจำเป็นต้องปรับความเข้าใจนิดหนึ่ง ดังนี้คือ
    สมุตติว่า os เช่น windows, linux เป็นถนน และ Aplication คือโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานเช่น office, ปลาดาว, wordpad, notepad, paint, etc. เป็นเสมือนรถยนต์ที่วิ่งบนถนน ดังนั้นถ้าถามว่ารถยี่ห้อ MS Word วิ่งบนถนนวินโดได้หรือไม่ คงตอบว่าได้ แต่ถ้าถามว่าเอาถนน linux ไปวิ่งบนถนน windows ได้ใหม? คงรู้คำตอบแล้วนะว่าถนนไม่ใช่รถจะเอาถนนไปวิ้งบนถนนได้ไง มีแต่จะตัดถนนเพิ่มใหม่ และบังเอิญ การพัฒนาการของ window โดยเป็นธุรกิจของ MS ซึ่งมาจากถนนเลนเดียว แต่มาทำให้เป็นเสมือนถนนหลายเลน (multi tasking) แต่ Linux เป็นถนนที่ มีหลายเลน (multi track , Multi processor, Multi user) มาตั้งแต่สมัยมันเป็น Unix ที่ทำงานบนเครื่องเมนเฟรมมาก่อนที่ไมโครซอฟจะมี DOS อีก ดังนั้นการที่จะซอยถนนส่วนบุคคล(MS) ให้เป็นสาธารณะหลายเลนยิ่งยากไปกันใหญ่
    ถ้าต้องการให้เครื่องเดียวกันมีทั้ง Windows และ Linux เสมือนโลกใบเดียวกันมีถนนมากกว่าหนึ่งสายได้ไม่ คงต้องตอบว่าได้ โดยเลือกเส้นทางวิ่ง (Multi boot) กันเอาเอง และต่างเส้นทางก็มีรถประจำทางของสายตัวเอง แต่มีรถบางคันเท่านั้น ที่เขาทำมาให้เลือกติดตั้ง ได้ทั้งสอง os เช่นโปรแกรมปลาดาวเป็นต้น และในเวลาเดียวกันคุณขับรถบนถนนสองสายพร้อมกันได้หรือไม่ คงทำได้ยาก แต่ก็มียกเว้นบ้างบางกรณีที่บางคนมีความเชี่ยวชาญพิเศษ เขาซอยถนนที่ใหญ่กว่า แบ่งเลนซอยย่อยมาเป็นสายใหม่ได้ เช่นบน linux ทำโปรแกรมจำลองสภาพแวดล้อมใหม่มาหนึ่งหน้าต่างแล้วติดตั้งให้ windows ทำงานอยู่ภายในหน้าต่างหนึ่งของ Linux ละเป็นไปได้มากกว่า ให้ Linux อยู่ภายใน Windows

ถ้าลง Windows มาก่อนต้องการทำให้มี LinuxServer อยู่ด้วยโดยไม่ต้องการให้ Windows เสีย สามารถทำได้ โดยการทำ Multiboot ดังนี้
    ถ้าคุณได้วางแผนมาก่อนที่จะลง Multi OS โดยจัดแบ่งพื้นที่ของ Partition ไว้ล่วงหน้ามาก่อน หรือมี Harddisk เปล่าๆมาต่อเพิ่มอีกลูก ก็ไม่มีปัญหา สามารถติดตั้ง Linux ได้เลยโดยข้อมูลไม่เสียหาย สามารถติดตั้งได้ตามขั้นตอนในหนังสือทุกประการ ยกเว้นในหน้า 2-10 อย่าไปลบ Partition เดิมที่ windows ใช้งานอยู่ (ไม่งั้นของเดิมหายหมดนะเดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน) และสร้าง Partition สำหรับ Linux เอาใหม่ในเนื้อที่ที่ว่าง เท่านั้นก็ใช้ใด้ และถ้ามี Harddisk มากกว่า 1 ลูก อย่าลืมเลือก Harddisk ด้วยว่าจะให้อะไรอยู่ใน H/D ลูกไหน โดยดูที่ช่อง Allowable Drives ในรูป 2.10 หน้า 2-12
    แต่ถ้าไม่ได้วางแผนมาก่อน ก็ต้องขยับพื้นที่ให้มีที่ว่างก่อน เพื่อไม่ให้โดย OS เดิมจับจองจนหมดแต่ผู้เดียว เหลือเผื่อแผ่ OS อื่นบ้าง ข้อมูลและโปรแกรมจะได้ไม่ทะเลาะกัน ให้ทำดังนี้
    ขั้นแรกให้ Defrag Hardisk ทุก Partition ที่มีอยู่ก่อนเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ในการปรับเปลี่ยนแก้ไขขนาดของ partition
    ปรับเปลี่ยนขนาดของ partition ที่ถูกแบ่งไว้และใช้พื้นที่เต็มหมดแล้วให้เหลือที่ว่างพอที่จะลง Linux (ประมาณ 1 G ก็เหลือเฟือ) + พื้นที่สำหรับเก็บ Data ด้วยโปรแกรมที่สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขขนาดของ patition ได้โดยข้อมูลไม่เสียหาย เช่นโปรแกรม Partition Magic เป็นต้น ไม่ได้ค่าโฆษณานะ เห็นว่าสะดวกใช้ และความเชื่อถือได้พอสมควร แต่ถ้าข้อมูลเดิม Scandisk ยังไม่ผ่าน หรือมี fragment เยอะมาก บางครั้งมีโอกาส เจอแจ็กพ๊อด ทำข้อมูลบน Hardisk เละเป็นโจ๊ก ต้อง Format ใหม่สถานเดียวเลย ถึงแนะนำให้ Defrag ก่อนใช้เสมอ การขยับพื้นที่โดย Resize และ Move มาชิดกัน ให้เหลือที่ว่างเอาไว้ ให้ Linux ทำ Primay partition บ้าง Linux จะได้ทำ multi boot ให้ได้ ถ้าเหลือแต่ภายใน ExtenPartition ก็สามารถลง Linux ในส่วนของ Exten ได้ แต่เวลา Boot อาจจะต้องทำแผ่น FloppyDisk สำหรับ Boot เพื่อเข้า Linux ต่างหากทำให้ไม่สะดวกใช้
    เมื่อจัด Partition ใหม่เสร็จแล้วทดลอง Boot และใช้งาน Windows ตัวเก่าว่ายังสบายดีใหม? ถ้ามีปัญหาใดก็แก้ไขให้เสร็จก่อน ก่อนที่จะลง Linux เพื่อที่ว่า Linux จะไม่โดนกล่าวโทษว่าทำ Windows มีอันเป็นไป ทั้งๆที่ Linux อยู่คนละส่วนกันเลย

    อ้อลืมบอกไปว่า ในขณะทำหน้า 2-12 ถ้าไปกำหนดใน MountPoint ให้กับ Pratition เดิมเป็นของ Windows ด้วยเช่น /drvc , /drvd หรือ /mnt/c , /mnt/d เมื่อเวลาลง Linux เสร็จแล้ว Linux มันจะเห็นข้อมูลใน partition ที่เราตั้งชื่อไว้ด้วย ที่อยู่ตามชื่อที่ตั้งไว้นั้นเอง

    อุตสาห์อธิบายวิธีการมาเสียยืดยาว แต่ขอแนะนำว่า ไม่เป็นการสมควรเลยที่จะทำ Multiboot ในเครื่องที่จะเป็น Server ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักสำหรับหนังสือเล่มนี้ เพราะ Server มีหน้าที่หลักในการบริการเครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย ไม่ได้มีไว้ใช้งานเอง ที่ผู้ใช้นึกอยาก Boot เป็นนู้นที เป็นนี้ที ลูกข่ายก็ไม่รู้ว่าตอนใหนใช้ได้ ใช้ไม่ได้ เพราะมัวไป Boot เป็นอย่างอื่นอยู่ทำให้ตายทั้งวง แต่ถ้าจะว่าอยากให้มี OS อื่นสำรองไว้ ก็ไม่มีความจำเป็นใด เพราะถ้ามันเสียก็คือเสีย หรือเป็น OS อื่นก็ไม่สามารถแทนมันได้ ทำให้ เสียเนื้อที่ ใน Harddisk โดยเปล่าประโยชน์
    แต่ถ้าจะลงไว้แค่ศึกษาทดลองเล่นดูก็ OK อยู่ และถ้ากลัวข้อมูลเดิมหายมากๆ อาจใช้ Harddisk คนละลูกสลับกันเลยก็มั่นใจดี แต่พอคิดดูดีๆ ว่า Harddisk ลูกใหม่ราคาสองพันกว่าบาท กับไปซื้อเครืองมียี่ห้อต่างประเทศ มือสองสภาพสมบูรณ์ดีมี Harddisk / LAN / CD และอื่นๆครบชุด ไม่รวม จอกับ key (เมาท์ไม่ต้องใช้ในเครื่อง server และจอกับkey ยืมเครื่องอื่นมาใช้ก่อนขณะติดตั้ง เมื่อเครื่องทำงานแล้ว จอกับkey ถอดไปคืนก็ได้ และการสั่งงานต่างๆ เช่นการ Monitor, Config รวมทั้งการ shutdown สามารถงานที่เครื่องลูกได้โดยใช้ SSH หรือ Telnet ก็ได้เสมือนอยู่หน้าเครื่อง Server โดยตรง) ที่เขานำมากองขาย ราคาสองสามพันบาท เอามาลง Linux ก็น่าจะเวิรค์กว่า เพราะถ้าคุณมีเพียงเครื่องเดียว จึงจำเป็นต้องทำ MultiBoot พอเป็น Server แล้วจะทำสอบการให้บริการลูกข่ายกับใครละ ก็มีเครื่องเดียว ดังนั้นถ้าเอาเครื่องมือสองมาลง Linux ทำ Server ซึ่ง Linux Server ต้องการ Hardware ขั้นต่ำที่ต่ำมาก CPU Pentium ธรรมดา Ram 32-64 M ขึ้นไป Harddisk ไม่ถึง G ก็ยังไหว (สำหรับเพื่อการศึกษาและยังมีข้อมูลไม่มากนัก) สำคัญการ์ดแลนขอดีๆหน่อย พวกของยี่ห้อดังๆ เช่น Intel, 3com มือสองที่มากับเครื่องนอก ก็ยังน่าใช้ดีกว่า ของใหม่เอี่ยม ยี่ห้อถูกที่สุดในพันธ์ทิพย์ ลดปัญหาที่ไม่น่าจะเกิด ได้เยอะ และใช้เครื่อง Windows เดิมเราเป็นลูกข่าย สามาถทดสอบการใช้งาน และสั่งงานผ่าน SSH ไปควบคุม Server ได้เสมือนหน้าจอตัวเองอยู่แล้ว
    หมายเหตุ การใช้ SSH ดูหน้า 17-4 และดาวโหลดโปรแกรมเสริมอื่นๆดูได้ที่ http://www.scienctech.com/Download/
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 1 การวางแผน
Q1.1 ทำไมต้องใช้ IP หมายเลข 192.168.100.xxx เป็นเลขอื่นได้หรือไม?
A1.1 เป็นเลขอื่นก็ได้ครับ แต่ในหนังสือนี้ใช้เลขนี้เป็นค่าตัวอย่าง เพื่อใช้อ้างอิงในคำสั่งตัวอย่างได้ถูกต้อง.
Q1.2 ผมจะนำไปใช้ในร้านเน็ตฯ และในหนังสือมีผังรูปแบบให้เลือกเยอะ ไม่รู้จะเลือกรูปใหนดีครับ?
A1.2 ลองดูคำอธิบายหน้า ผนวก ข. อีครั้ง เผื่อจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งทุกรูปสามารถใช้ได้ทั้งมี real ip และไม่มี real ip ก็ได้ สมมุติว่าใช้ linux เป็นตัวหมุนโมเด็มจะเป็นรูป 1.4 ถ้าใช้อุปกรณ์อื่นต่อโมเด็มและต้องการควบคุมลูกข่ายด้วยการ์ดแลน 2 แผ่นใช้รูป 1.3 แต่ถ้ามีแลนการ์ดแผ่นเดียว ไม่ควบคุมลูกข่ายให้ใช้รูป 1.5. แต่ขณะเดียวกันภายในตัว linux เองสามารถทำเป็น server เหมือนรูป 1.1 ได้ทั้งรูปอยู่ในตัวเดียวกันก็สามารถทำได้
Q1.3 การติดตั้ง Internet จะกำหนดชื่อ Host และ Virtual host อย่างไร เป็นชื่อที่ทั่วไปเช่น sombat แทนที่จะเป็น sombat.co.th จะได้ไหม และจะกำหนด IP address อย่างไร
A1.3 การใช้ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ตก็ควรตั้งชื่อตามหลักการในหน้า 2-17 เหมือนกัน เพราะอินทราเน็ตก็คือการจำลองอินเตอร์เน็ตมาใช้ในวงในเท่านั้นเอง แตกต่างกันคือ ถ้าเป็นอินเตอร์เน็ตชื่อโดเมนต้องจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนอินทราเน็ตไม่ต้องจดทะเบียน DNS (ไม่ได้ต่อเน็ตแบบถาวร) สามารถตั้งชื่อสมมุติได้เองตามใจชอบไม่ต้องกลัวว่าจะซ้ำกับใคร เพราะใช้งานวงในไม่ได้ให้ชาวโลกภายนอกมายุ่งด้วย (อย่าลืมเซ็ต DNS ตัวลูกว่าใช้ DNS ตัวนี้เป็นตัวแม่นะครับ)
    ถ้าจะตั้งชื่อ Host name เป็น sombat เฉยๆ ไม่มีจุด .domain เครื่องก็สามารถทำงานได้ แต่ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งเพราะ เท่ากับว่าท่านตั้งเฉพาะชื่อ server name แต่ไม่มีโดเมน เมื่อมีโปรแกรมบางตัวเช่น name.d ต้องการใช้ชื่อโดเมนด้วยโปรแกรมจะไม่สามารถกำหนดค่าได้ถูกต้อง ซึ่งจะมีผลทำให้ server ของท่านทำงานได้ไม่สมบูรณ์ สามารถใช้งานได้เป็นบางอย่าง บางงานก็ไม่สามารถทำงานได้ และถ้ามีโปรแกรมใดต้องใช้ dns ด้วยก็มีปัญหาไปหมด ดังนั้นควรตั้งตามกฎที่แนะนำในหน้า 2-17
    ซึ่งเหตุการณ์นี้มักจะเกิดกับผู้ที่พยายามติดตั้ง Internet server แต่ไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง พยายามทำ server เองแต่มีปัญหา ไม่สามารถทำได้สมบูรณ์สักที และแก้ปัญหาไม่ตก ทำตามหนังสือหลายเล่มแล้วก็ทำไม่ คิดว่าตัวเอง config โปรแกรมบางตัวไม่ถูกต้องสักทีหาที่ผิดก็ไม่พบ (เพราะมันไม่ผิดจริงๆนี่นา)
    ข้อควรระวัง linux สามารถแก้ไขค่า config ต่างๆได้โดยไม่ต้อง boot ใหม่ เพียง restart ในส่วนที่เกี่ยวข้องก็พอ ยกเว้นการเปลี่ยนชื่อ hostname.domanename สำหรับมือใหม่ขอแนะนำว่า install linux ใหม่ง่ายกว่าใช้เวลาไม่ถึง 20 นาทีก็เสร็จ ถึงแม้ว่าโปรแกรม netconf สามารถเปลี่ยน hostname ได้ก็ตาม แต่ไม่อาจรับประกันได้ว่าโปรแกรมย่อยๆที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้รับการแก้ไขครบทุกไฟล์หรือไม่ อาจทำให้เกิดปัญหากับโปรแกรมนั้นๆก็ได้ ยกเว้นว่าท่านชำนาญแล้ว ท่านจะทราบว่าต้องแก้ไขไฟล์ใดบ้าง และเมื่อเกิดปัญหาท่านจะสามารถแก้ไขได้ถูกจุด
    ส่วนการกำหนด IP Address สำหรับ Intranet จะกำหนดอย่างไรก็ได้เพราะไม่เกี่ยวกับชาวโลกภายนอกเลย แต่ควรตั้งให้ถูกต้องตามกฎกติกาของ TCP/IP ถ้าไม่รู้จะตั้งอย่างไรให้ดูรูปใบบทที่ 1 เลือกผังที่ตรงกับการใช้งานของท่านแล้วใช้ค่าตามหนังสือได้เลย และดูคำสรุปเพิ่มเติมในผนวก ข. ประกอบด้วย ครับ
    และการทำเวอร์ชวน host ถ้าใช้ไม่ถึงก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำก็ได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อจุดประสงค์คือ การยึด IP มาครอบครอง และทำ Vertual web hostting ซึ่งมีคำอธิบายวิธีทำอยู่แล้วในบทที่ 6
Q1.4 จะเลือกใช้ Modem ADSL อย่างไรดี?
A1.4 การใช้ Linux กับอินเตอร์เน็ตเน็ทความเร็วสูง ADSL ได้ครับ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ Linux     ปัญหาอยู่ที่ Modem ที่ท่านเลือกมาใช้ ผู้ผลิตเขาทำ Driver มาให้หรือเปล่าต่างหาก ลองดูที่ Q0.16
    โมเด็มความเร็วสูง ที่มีขายทัวไป มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับ Port ที่ใช้ในการการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีทั้ง Internal , External USB , External Serial , External RJ45 ซึ่งสองแบบแรก จำเป็นต้องหา Driver และติดตั้งตามคู่มือของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Linux ก็จะต้องทำเช่นเดียวกัน (แต่วิธีอาจแตกต่างกัน)
    ส่วนแบบ Serial RS232 สามารถนำมาต่อใช้ได้ทันทีเพราะที่ COM Port เป็น Port มาตรฐามที่ OS รู้จักอยู่แล้ว และ Hardware ใดก็ตามที่นำมาต่อพวงที่ Port นี้ก็จะถูกผลิตมาตามมาตรฐานเดียวกันมี Hardware ภายในที่ทำงานได้ด้วยตัวเองสมบูรณ์อยู่แล้ว จึงสามารถใช้งานได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นความเร็วสูงหรือต่ำ Linux ก็จะทำงานให้เต็มพิกัดเท่าที่ Hardware รองรับอยู่แล้ว
    และแบบชนิดที่เป็น LAN Interface RJ45 connector เขามักจะเรียกว่าเป็น Rounter + Modem (หรืออาจมี HUB ในตัวให้ด้วยในหลายๆรุ่น) พวกนี้ราคาจะสูงขึ้นอีกไม่สูงนักเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้มา ก็นับว่าคุ้มค่าเพราะวงจรภายในเขออกแบบมาให้รองรับงานที่มี Load มากๆ อยู่แล้ว มีการทำงานตอบสนองการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว และเบ็ดเสร็นในตัว การติดตั้งก็ง่ายมาก ไม่ต้อง Install software ที่เครืองใช้งานแต่อย่างใด สามารถนำไปวางแทนที่ตำแหน่ง Rounter ในผังรูปภาพ ในบทที่ 1 ได้ทันที ทำให้การดูแลรักษาง่ายมาก และเท่าที่เคยทดสอบกับระบบเครือข่าย Connect speed 2 Mb/s แล้ว Dowload file ขนาด 150M จาก Web ในประเทศ ได้ความเร็วเต็มที่ประมาณ 180 kB (ประมาณนาทีละ 10 MB แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ หรือมีคนเข้าใช้พร้อมกันเยอะความเร็วจะลดลงมากๆ )
    เปรียบเทียบกับใช้ Modem USB ที่คู่สายเดียวกัน D/L ที่เดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์และใช้โปรแกรมเดียวกัน ได้ความเร็วประมาณ 85kB เท่านัน สาเหตุเพราะแบบ USB ต้องใช้พลังของ CPU ในเครื่องเราช่วยทำงานด้วย และสเป็กความเร็วของเครื่องใช้ทดลอง มีผลต่อความเร็วการทำงานด้วย ส่วนแบบแรกมันใช้ Hardware ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ อิสระจากกันโดยสิ้นเชิงจึงได้ประสิทธิภาพรวมที่สูงกว่า แต่ถ้าทดสอบ D/L ที่ความเร็วต่ำหรือภาระไม่สูงนัก CPU มีกำลังเหลือเฟือจึงไม่อาจเห็นผลชัดเจนนัก
    ส่วนการวางระบบ ถ้าเป็นชนิด Router modem หรือใช้เครื่องที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ Internet ไม่ว่าจะเป็น ADSL , ดาวเทียม หรือระบบอื่นๆที่ท่านใช้งาน ไปวางแทนที่ในตำแหน่ง Router ในรูบ 1.1 หรือ 1.2 หรือ 1.3 หรือ 1.5 แต่ถ้า เป็นชนิด Modem ให้วาง Modem แทนที่ในตำแหน่ง Modem ตามรูป 1.1 หรือ 1.2 หรือ 1.3 หรือ 1.4 หรือ 1.5 แต่ทั้งนี้ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Modem ของท่านจะต้อง มี Port เชื่อมต่อกับ Modem เป็นชนิดเดียวกันเช่น RS232, V.35 , USB , PCMCIA หรืออื่นๆ และจะต้องมี Driver ที่รองรับกันติดตั้งอยู่ หรือตามคุ่มือระบุว่าใช้งานร่วมกันได้
    การ ใช้ Router connect modem ผู้ผลิต Router modem มักจะให้สามารถ Config ผ่าน Bowser เช่น IE ดังนั้นไป Config ที่เครื่องลูกเครื่องใดก็ได้ สะดวกและง่ายกว่าการใช้ Telnet เยอะเพราะเป็น Graphic สวยงามกว่า แต่ไม่ classic เท่าเล่น Command line
    ส่วนชนิดที่เป็น Modem อย่างเดียว บางรุ่นสามารถใช้ wvdial ตามเดิมได้เพียงกำหนด port ให้ตรงกัน หรือ wvdial.conf ตรวจสอบ ให้เจอเองอัตโนมัติ แต่ บางรุ่นจะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับใช้ Dialup พิเศษสำหรับ Modem นั้นๆจึงจะสามารถต่อ Internet ได้ และมี Driver สำหรับ Linux Version ที่เราใช้อยู่หรือไม่ (redhad kernel kernel-2.4.9-34) ซึ่งผู้ขายบางท่าน อาจไม่มีข้อมูลให้เพียงพอ ดังนั้นควรศึกษาคู่มือหรือเวปไซด์ ให้ละเอียด ให้ดีก่อนเลือกซื้อ
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 2 การ Install Linux
Q2.1 เครื่องไม่ยอม Boot จาก CD?
A2.1 ให้เข้าไป Cmos Setup ตั้งลำดับการ Boot ให้เลือก Boot จาก CD เป็นอันดับแรก หรือถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่ามาก ที่ไม่สามารถ Boot จาก CD ได้ หรือตัว CD Drive ไม่ค่อยสมบูรณ์ ให้ทำแผ่น Boot จาก Floppy Disk ตามหน้า 2-4 .
Q2.2 ขณะติดตั้ง เครื่องให้เลือก Local cdrom และ Hard drive .. เลือกอันไหนถูก?
A2.2 ขณะติดตั้งอาจจะมีคำถามทำนองนี้อยู่ 3 ขั้นตอน คือ
1. ถามว่า จะเลือกติดตั้งจากสื่อชนิดใด ให้เลือกตอบว่าจาก CD ROM (ถ้า boot จาก cd มักจะไม่ขึ้นคำถามนี้เพราะเครื่องรู้อยู่แล้ว แต่มักจะถามเมื่อ boot จากสื่ออื่นเช่น Floppy disk )
2. ถามว่า จะติดตั้งลงไปไว้ที่ใหน ให้ตอบว่า Hard disk
3. ถามว่า จะให้ลงโปรแกรมสำหรับ Boot ไว้ที่ใด เลือก Boot จาก Harddisk และเป็น Master Boot Record
ดังนั้นท่านพบคือขันตอนใหน ก็ลองอ่าน แล้วเลือกลงตอบนะครับ
    - ถ้า Hard disk ของท่านไม่มีที่ว่าง (คือ Partition เปล่าๆ) เพราะเราเคยใช้งานอยู่ เครื่องจะถามให้ยืนยัน ว่าแน่ใจนะจะลงในที่ ที่ท่านเลือกนี้ พอถึงขั้นตอนที่ 7 หน้า 2-13 ให้ลบ Partition ที่เรายอมให้ลบทิ้งได้ออก หรือลบทิ้งทั้งหมดก็ง่ายดี เพื่อลง Linux แต่ในบางเครื่อง จะไม่ยอมให้ลงเลย และแจ้งว่าไม่มีเนื้อที่เหลือให้ลง Linux เลย แล้วจะออกจากโปรแกรมไปเลย ให้ทำดังนี้
1. Boot ด้วย OS ใดก็ได้ที่ท่านชำนาญ เช่น DOS, Windows, Linux
2. เข้าที่ Text command mode (หรือ dos) พิมพ์คำสั่ง fdisk เพื่อลบ Partition เดิมออก (หรือถนัดใช้ Partition magic ก็ได้ตามสะดวก หรืออยากจะ low level ก็ไม่ขัดสัทธา รับประกันได้ว่าข้อมูลเดิมเกลี้ยงแน่ๆ )
3. ใส่ CD ติดตั้ง Linux ได้ตามปกติ .
Q2.3 พอติดตั้งเสร็จเครื่อง restart ใหม่ จะขึ้นข้อความให้ติดตั้งอีก?
A2.3 เป็นเพราะลืมเอา CD Install ออก ให้เอา CD ออกก่อน หรือเข้าไป Cmos Setup ตั้งลำดับการ Boot ให้เลือก Boot จาก Harddisk เป็นอันดับแรก .
Q2.4 ขณะติดตั้งเครื่องแจ้ง anaconda error?
A2.4 มักจะเกิดจากการแบ่งขนาด Partition ไม่เหมาะสม ให้เริ่มใหม่และดูรายละเอียดในหน้า 2-11 ให้ครบถ้วน แล้วควรจะกำหนดให้มีการ Format partition ด้วยไม่ควรใช้ค่าตามเดิม เพราะค่าเดิมมีที่ผิดพลาดอยู่จึงทำให้ลงไม่สำเร็จ.
Q2.5 แบ่ง Partation ใหม่ ตามทำตามข้อ Q2.4 แล้วก็ยังติดตั้งไม่สำเร็จสักที ? ยัง anaconda error อยู่
A2.5 สาเหตุ ที่พบบ่อยมีดังนี้
    - มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ Partition ใหม่ จะต้องกำหนดให้ Format ทุก Partition ด้วยเสมอ ซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนขนาดของ Partition ใดๆเลย อาจไม่ Format ก็ได้ ข้อมูลเก่า จะยังคงอยู่ไม่เสียหายและไม่ถูกแก้ไขใดๆ แต่ถ้ามีการแก้ไขขนาดของ Partition ใด Partition หนึ่ง ตำแหน่ง Cylinder เริ่มต้น และสิ้นสุดของ Partition ต่อมาย่อมเคลื่อนทั้งหมด ซึ่งค่า Default ในรูปบนขวาหน้า 2-13 บาง Partition เช่น /home มักจะไม่ Format ให้ด้วย เพื่อไม่ให้ข้อมูลเสีย ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนขนาดเมื่อไหร่ต้องตรวจสอบดู ต้องมี "*" หน้าข้อความ [*] Format as ด้วยทุก Partition
    - ขณะแบ่ง Partition ตามหน้า 2-11 ควรดูจากรูป 2.8 ว่ามีเนื้อที่ Free space เหลือเท่าไรเพียงพอที่จะกำหนด Partition ต่อไปหรือไม่ ถ้าไม่พอ ให้กลับไปแก้ไข ลดขนาด Partition ที่แบ่งไปแล้วแต่ขนาดมากเกินความจำเป็นลงก่อน เพื่อป้องกันเครื่องแจ้งว่า ดีสก์เต็ม แต่ถ้า เครื่องเคยแจ้งว่าดีสก์เต็มแล้ว ควรจะลบ Partition ที่แบ่งมาแล้วออกให้หมดทุก Partition แล้วจึงค่อยสร้างใหม่ทั้งหมด ถ้าลบเพียง Partition สุดท้ายเพียงอันเดียวแล้วสร้างต่อไปเลยมักจะลงไม่ค่อยสำเร็จ เพราะถ้าท่านสังเกตดูท่านจะเห็นว่าการสร้าง Partition จะไม่เรียงตามลำดับที่สร้างอันใหนก่อนก็ได้ แล้วเครื่องจะเรียงให้เอง ดังนั้น Partition ที่ท่านสร้างอาจไม่ใช้ Partition สุดท้ายที่เกินตกขอบ Cylinder ก็เป็นได้ แต่ท่านลบออกไปหนึ่ง Partition จึงอาจไม่ใช้ Partition ที่เสียหรือเกินก็เป็นได้ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจควรลบออกทุก Partition ก่อนแล้วสร้างใหม่ จะเสียเวลาน้อยกว่าการรอจนเกือบเสร็จ แล้วพบ Anaconda Error
Q2.6 ติดตั้งเสร็จแล้ว Boot ไม่ได้ ?
A2.6 อาจเป็นได้หลายสาเหตุ ให้ตรวจสอบดังนี้
- ให้อ่านข้อความ Error ที่แจ้งขึ้นมาว่าเกิดผิดพลาดที่ใดแล้วแก้ไขตามที่พบปัญหา
- ลืมแก้ไขค่าใน Cmos setup ให้ Boot จาก ฮาร์ดดีสก์
- กำหนดส่วน Boot Loader ไม่เหมาะสม ในช่วงหน้า 2-14 ถึง 2-15 ให้ทดลองติดตั้งใหม่
- กำหนดขนาด Partition ไม่เหมาะสม ให้เริ่มใหม่และดูรายละเอียดในหน้า 2-11
- ใช้แผ่นโปรแกรมที่ Copy มาไม่สมบูรณ์ หรือตัว CD Drive อ่านแผ่น Write บางแผ่นไม่เก่ง ลองใช้แผ่นปั้มที่แถมกับหนังสือนี้อีกครั้ง
- และที่พบบ่อยที่สุดคือ ผิดพลาดในขณะแบ่ง Pratition เช่นสะกดชื่อ Pratition หรือ type บางตัวผิด หรือขณะแบ่ง Pratition กำหนดค่าเกินกว่าที่มีเนื้อที่ใน Harddisk จริง ถึงแม้ว่าจะลบเฉพาะ Pratition ที่เกินนี้ออกแล้วก็ตาม ปัญหาอาจจะยังไม่หมดไป ดังนั้นแนะนำว่าถ้าเครื่องเคยแจ้ง Error ขณะแบ่ง Pratition ควรลบออกทุก Partition ก่อนค่อยแบ่งใหม่ เหตุผลเช่นเดียวกับข้อ A2.5
Q2.7 จะลง Linux ให้ Windows เดิมยังอยู่ได้หรือไม่?
A2.7 ใด้ครับแต่ไม่แนะนำให้ทำบนเครื่องที่ต้องทำหน้าที่เป็น Server เพราะเครื่อง Server ต้องให้บริการลูกข่ายตลอดเวลา จึงไม่มีโอกาสจะ Boot เป็นอย่างอื่น ทำให้เสียเนื้อที่ฮาร์ดดีสก์ สำหรับ OS อื่นไปฟรีๆ แต่ถ้าจะทำจริงๆ มีหลักการดังนี้ คือ จะต้องมีที่ว่าง(Partition) ในฮาร์ดดีสก์ เพียงพอและลง Linux ลงใน Partition ว่างเปล่านี้โดย Format เฉพาะ Partition ของ Linux (ไม่ต้อง Format ใน Partition ของ Windows นะเดี๋ยว Windows จะหายหมด) เมื่อติดตั้ง Linux เสร็จ Linux จะสร้างเมนูสำหรับทำ Multi boot ให้เอง (ติดตั้ง OS อื่นๆ เสร็จก่อน แล้วติดตั้ง Linux เป็นลำดับหลังสุด Linux จะจัดการให้)
Q2.8 มีปัญหาเกี่ยวกับ Partition หรือเนื้อที่ "/" ไม่พอ
A2.8 สาเหตุ ที่พบบ่อยเช่น
You don\\\'t appear to have eneugh disk space to install the packageu ...
Mount poiter "/" ... Needed..
    - พิมพ์ชื่อ mount point ไม่ครบ หรือผิด เช่น /use เป็น /USR หรือเป็น /user และพิมพ์ /tmp เป็น /temp เป็นต้น เมื่อลงโปรแกรม Linux จะสร้าง Partition ตามที่ท่านพิมพ์ทุกประการ และจะตรวจหาชื่อ Directory ตามที่เครื่องต้องการ (ตามรายละเอียดในหน้า 2-11) ถ้าไม่พบ Partition ที่เครื่องต้องการในขณะติดตั้ง Linux จะสร้างให้ เองโดยอัตโนมัติ (ยกเว้น Swap ต้องสร้างให้เสมอ) ไว้ภายใต้ Partition "/" ดังนั้นถ้ากำหนดให้ "/" มีค่า 250M ตามหนังสือซึ่งปกติเพียงพอแล้วเพราะได้แยก Directory ที่มีความสำคัญ ออกเป็น Partition ต่างหากแล้ว แต่เมื่อติดตั้งเครื่องไม่พบ mount point ที่ต้องการเครื่องจึงสร้างให้เองแต่มาเก็บไว้ภายใต้ Directory / นี้ และในขณะ Install เครื่องจึงแจ้งว่า Partition "/" เล็กเกินไป
   เมื่อมีการแก้ไขขนาด Partition ควรจะลบ Piarttion เดิมออกทั้งหมด ก่อนสร้างใหม่ (ห้ามเหลือไว้เพราะของเดิมไม่ถูกต้อง) และถ้าบังคับเลือกให้ Format ด้วยก็จะดี ป้องการเกิดปัญหาข้อ Q2.5 อาจตามมา
Q2.9 ติดตั้งเสร็จ boot ครั้งแรกก็ค้างขึ้นข้อความ Li........ ?
A2.9 สาเหตุที่พบบ่อยคือ การติดตั้งไม่สมบูรณ์ โปรแกรมที่จำเป็นในการ boot มาไม่ครบหรือกำหนดผิด ส่วนสาเหตุที่อาจเป็นได้ แต่ไม่พบบ่อยนักคือเกิดจากปัญหาการ Conflict ของ hardware หรือ ram,mailboard,cpu,harddisk ไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงขอเล่าถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ 2 กรณี คือ
1. ขณะ Install ไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเพราะ Hardware มีปัญหา เช่น
    - CD Rom อ่านข้อมูลจากแผ่นได้ไม่ถูกต้อง เช่น CD Drive อ่านข้อมูลไม่ค่อยออก หรือแผ่น CD มีรอยขีดข่วน ถ้าเกิดปัญหานี้ ส่วนใหญ่มักจะแจ้ง Error ในขณะติดตั้ง ซึ่งจากสเป็กที่ให้มา ขณะติดตั้งน่าจะ ใช้เวลาอ่านข้อมูลประมาณ 20 นาที่ ถ้าอ่านนานเป็น 4-5สิบนาทีขึ้นไป ก็น่าจะเป็นไปได้ว่าเครื่องพยามอ่านข้อมูลนานเกินเหตุ บางครั้งเคยพบอยู่บ้างคือเปลี่ยน cd rom driver ตัวอ่านแผ่นจากเครื่องอื่นมา Install ผ่านปกติ แล้วค่อยถอดคืน หรือมีสายต่อภายในเครื่อง connector บางตัวหลวม พอถอดเสียบใหม่ก็ใช้งานได้ปกติก็เคยมีบ่อยๆ
    - Harddisk เก่าๆบางตัว อาจจะมี Bad sector เป็นบางจุดที่สามารถเขียนข้อมูลได้แต่อ่านข้อมูลได้ไม่ถูกต้อง และบังเอิญเป็นตำแหน่งที่สำคัญในการ Boot ด้วย สามารถให้เครื่องตรวจสอบให้ได้ ดูรูป 2.10 หน้า 2-12 ลองเช็กบล๊อก [x]Check for bad blocks ใน Partition /boot /etc ดูก็สามารถช่วยได้ หรือจะเช็กในทุก Partition ก็ได้ แต่ขั้นตอน Format จะนานมากเพราะมันจะทำ Scan serface harddisk ก่อน
    - RAM หรือ อุปกรณ์ต่างๆบน Mainboard มีปัญหา ให้ลองถอด RAM และ การ์ดทุกชิ้นที่ถอดได้ออกมา เอายางลบดินสอถูไปบนแถบลายปรินซ์ที่เป็นแถวๆสำหรับเสียบลง Slot ทุกที่ขัดให้ขึ้นเงาแล้วเสียบลงไปคืน ส่วน CPU ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ถอดออก เป่าๆเสกคาถาโอมพวง แล้วใส่ลงไปคืนก็พบ เพื่อให้จุดที่นำไฟฟ้ามีการขยับขเยือนไปบ้าง และควรทดลองเข้า CMOS Setup ไป Disable Quick RAM Test on boot หรืออะไรทำนองนั้นเพื่อให้มันทดลองเช็ก RAM ให้จริงๆไม่ใช้วิ้งเร็วๆ พอครบๆ เพื่อให้บูตเร็วขึ้นเท่านั้น และบางครั้งทั้มี RAM หลายตัวเป็นคนละรุ่น ลองดูว่าความเร็วของทั้ง 2 ตัวเท่ากัน หรือเป็นชนิดเดียวกันใหม ถ้าไม่เท่ากัน ปรกติมันมักจะวิ้งเท่าตัวที่ต่ำสุด จึงจะเกิดปัญหาน้อย ถ้าไปบังคับให้วิ้งเต็ม Speed ตัวช้าอาจจะทำงานทันบ้างไม่ทันบ้าง เวลา Test RAM ผ่านแต่เวลาใช้งานบางที่ก็แฮ้งค์บ่อย

    หมายเหตุ ถ้าเคย Install แล้วไม่ผ่าน การ Install ซ้ำ ควรจะลบ Partition ของเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งหมด ให้เหลือแค่รูป 2.8 หน้า 2-10 เพราะเดิมอาจจะมีปัญหาเพราะในตอนทำครั้งแรกแบ่งลบเพิ่มแก้ไขขนาด Partition กันสนุกสนานจนมันจัดเรียงผิดพลาด (มักจะเกิดเมื่อแบ่งเกินพื้นที่ ที่มีแล้วลบออกเพื่อให้มันไม่ฟ้อง Error แล้วไปเพิ่มใหม่เลย ดังนั้นถ้ามันเคยแจ้ง Error ในขณะแบ่ง partition ควรลบออกทั้งหมด เพราะของเดิมอาจจะเสียอยู่แล้วก็เป็นได้) ให้ลองคำนวนขนาก Partition ที่ต้องการในกระดาษเสียก่อน แล้วเอามาพิมพ์ mount point เอาแบบรอบเดียวผ่านยิ่งดี เริ่มเรียงเข้าไปใหม่จะแน่นอนกว่า และการเลือก [x] Format as ตามรูปบนขวาหน้า 2-13 ด้วยจะดีมาก เพื่อจะได้มั่นใจได้ว่าไม่เหลือซากปัณหาเดิมแน่ๆ

2. ถ้ามั่นใจ Install สมบูรณ์ชัวร์ๆ แต่เป็นปัญหาขณะ Boot มักจะเกิดจาก RAM หรือ อุปกรณ์ต่างๆบน Mainboard มีปัญหา ให้ลองถอด RAM และ การ์ดทุกชิ้นที่ถอดได้ออกมา เอายางลบดินสอถู ๆ ทำเหมือนที่แนะนำไปแล้วข้างต้น แล้วเช็ก Power supply ว่าไฟนิ่งเต็มขนาดไม่กระเพื่อม หรือไฟตกเมื่อมีอุปกรณ์ทำงาน แล้วเชื่อว่าต้องใช้งานได้ ถ้ายังก็แสดงว่า Hardware บางชิ้นมีปัญหาแน่นอนและปกติมันมักจะแจ้ง Error มาให้เราทราบตั้งแต่ติดตั้งแล้วว่ามันสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ใด พบหรือไม่พบอยู่แล้ว
Q2.10 ไม่สามารถตรวจสอบ แลนการ์ด (NIC) ?
A2.10 ขณะติดตั้งมักจะไม่ปรากฎตามภาพ 2.24 แสดงว่าเครื่องไม่รู้จักหรือไม่เห็นการ์ดแลนด์เลย หรือ linux ตรวจสอบพบว่ามีการ์ดแลนด์อยู่ แต่ไม่สามารถจัดการกับ driver ของการ์ดแลนด์ได้
    - ถ้าเป็นรุ่นที่มีในตารางหน้า ผนวก ค. สาเหตุที่พบบ่อย เช่น I/O Address หรือ IRQ เกิด Conflict กันเองใน เป็นต้น ลองตรวจสอบ และเช็กที่ comos setup ดูว่า มี lan on board เปิดไว้หรือไม่ ชนกันหรือเปล่า และค่า PCI/PNP หรือ IRQ ตั้งไว้ในค่าที่เหมาะสมดีหรือไม่ หรือ slot ของการ์ดหลวมหรือไม่ ให้ท่านลองตรวจสอบ โดยเปิดฝาเครื่องดูว่า NIC ของท่านเป็น ยี่ห้อ/รุ่น และใช้ชิพเบอร์อะไร จดค่าไว้จะได้แก้ไขหรือconfigได้ถูกต้อง และลองดูว่า เบอร์ชิพที่การ์ดแลนมีในตารางหน้า ผนวก ค. ให้จด moule และ parameters ไว้ manul config ภายหลัง (พิมพ์ค่า kernel module ในรูป 3.3)
    - ถ้าไม่มีในตารางหน้า ผนวก ค. แสดงว่า ใช้ชิพรุ่นที่ ตัว instal linux ไม่รู้จัก หรือ driver รุ่นนี้ยังไม่ได้บรรจุเป็น driver มารตรฐานของตัว Install linux ให้ Install ส่วนอื่นๆ ไปตามปกติก่อน แล้วมาติดตั้ง driver ทีหลังตามคู่มือ (readme) ที่มีมาให้ในแผ่น driver ของแลนด์การ์ดยี่ห้อรุ่นนั้นๆ ซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะ อาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละรุ่น
    - ถ้าไม่อยากหาวิธีทำที่ยุ่งยาก ใช้วิธีเปลี่ยนการ์ด สลับกับเครื่องอื่น ที่ใช้การ์ดคนละรุ่น ดูจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะถ้าเป็นการ์ดแลนด์รุ่นที่ใช้ชิพมารตรฐานทั่วๆไป จะ Auto detect ให้อัตโนมัติตอน boot เครื่องไม่ต้องลงใหม่ก็ได้ เท่าที่เคยทดสอบ ยี่ห้อมาตรฐานเช่น Intel , 3Com ก็ใช้งานได้ดี ไม่มีปัญหา และการ์ดแลนที่ใช้ชิพ RTL ส่วนใหญ่ใช้ได้เกือบทุกรุ่น เช่นยี่ห้อ Complex เป็นต้น และการ์ดบางยี่ห้อ ที่ราคาถูกๆ ที่ใช้ชิพ RTL รุ่นที่มีรูปปูอยู่บน IC ก็ใช้งานได้ แต่ถ้าเจอ load หนักๆ การ์ดบางแผ่นจะน๊อกกลางอากาศ Network หลุดเป็นพักๆ ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง (ถ้าใช้งานไม่หนักเช่นเป็นเครื่องลูก ในวงแลนด์มีไม่กี่เครื่อง อาจไม่ค่อยพบปัญหา หรือพบก็ไม่รู้สาเหตุ เพราะสักพักมันก็ใช้ได้ปกติ เลยขายเมืองไทยได้ดี ด้วยคุณภาพสมราคา)
    - แต่ถ้าเป็นการ์ด ISA ที่เทียบเท่าของ Nowell ควรกำหนดที่ Cmos setup จอง Irq ไว้เพื่อกันไม่ให้ pci/pnp แย่ง irq ไปใช้ autodect จะตรวจพบเอง แต่ถ้าตรวจไม่พบให้กำหนด io address โมดูลเป็น ne2000 ก็จะใช้ได้ครับ
Q2.11 ไม่ได้ใช้ Harddisk หรือ CD เป็นแบบ SCSI สักหน่อยแต่เครื่องถามหา SCSI ตลอดลงต่อไม่ได้ ?
A2.11 มักจะเกิดกับเครื่องท่านมีอุปกรณ์หลายอย่างเสียบอยู่ หรือมีอุปกรณ์ หรือ Bios แตกต่างจาก มาตรฐานทั่วไป Linux เข้าใจผิดคิว่าเป็น SCSI ให้ทดลองถอดออกก่อนให้เหลือเท่าที่จำเป็น หรือถ้าเป็น on Board ก็ลอง Disable ที่ Cmos ออกก่อน เช่น IR, Modem, LAN on board เป็นต้น โดยทดลองดูก่อน ถ้าสามารถผ่านขั้นตอนนี้ไปได้แสดงว่าเกิดปัญหากับอุปกรณ์ที่ยกเลิกนี้ แล้วจึงค่อยกลับมาแก้ปัญหา ที่เกิดจากอุปกรณ์ตัวนี้ทีหลังก็ได้
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 3 การปรับแต่งหลังติดตั้ง
Q3.1 หน้า 3-2 บรรทัดแรก พอกดแป้น [Tab] แล้วไม่ขึ้น Redhat/RPMS/.... ?
A3.1 ถ้าลองทำตามข้อ Q0.2 แล้วไม่หาย มักจะเกิดจาก ลืม mount cdrom (บรรทัดสุดท้ายหน้า 3-1) หรือ mount cd ไม่สำเร็จ (อาจเกิดจากตัว Drive ไม่ค่อยดีจะเป็นในบางยี่ห้อที่ QC.ต่ำ หรือไม่ก็แผ่น CD เป็นรอยมาก) ให้ ลองทำดังนี้. พิมพ์ eject [Enter] เครื่องจะเปิด CD ออกมาเอง แล้วหยิบแผ่น CD ออกหมุนแผ่นครั้งละ 90 องศาแล้ววางลงไปคืน พิมพ์ บรรทัดสุดท้ายหน้า 3-1อีกครั้ง เครื่องจะดึง CD กลับเข้าไปคืน และจะต้องไม่รายงาน Error จึงจะใช้งานต่อได้.
Q3.2 เมื่อพิมพ์ "reboot" แล้วเครื่อง Boot ใหม่จะกลับไปหน้าติดตั้งอีก ?
A3.2 เป็นเพราะลืมเอา CD ออกก่อน restart เครื่องจึง Boot จากแผ่น CD เหมือนจะติดตั้งใหม่ ดังนั้นต้องไม่ลืมเอา CD ออกก่อนหรือไม่ก็ ไปแก้ที่ Cmos setup หลังจากติดดต้งเสร็จให้ Boot จาก Hard disk เท่านั้นจะได้ไม่ลืม.
Q3.3 ใช้ Linux เวอร์ชั่นอื่นบางเวอร์ชั่น ไม่สามารถติดตั้ง linuxconf ได้ ?
A3.3 ถ้าทำตามหมายเหตุในหน้า 3-2 แล้วยังติดตั้งไม่ได้ สาเหตุที่ติดตั้งไม่ได้ ปัญหาที่พบบ่อยมีสองประการคือ
    ในแผ่น CD แผ่นที่ท่านใช้ไม่มีโปรแกรม linuxconf มาให้ และอีกกรณีก็คือโปรแกรมอื่นๆที่ linuxconf ต้องการยังไม่ได้ติดตั้ง เพราะ โปรแกรม Linux Config นี้การทำงานภายในต้องใช้โปรแกรมอื่นๆประกอบด้วย (เช่นเดียวกับใน DOS Copy โปรแกรม qBasic.exe เดี่ยวๆไปใช้ในเครื่องที่ไม่มีโปรแกรม Edit.com อยู่ในเครื่องอยู่แล้วไม่ได้ หรือใน Windows ไม่สามารถใช้บางโปรแกรมได้ถ้าไม่ติดตั้ง Direc X มาก่อนเป็นต้น) ซึ่งในตัวติดตั้งของ Linux แต่ละเวอร์ชั่นมีโปรแกรมมาอื่นๆประกอบ มาให้ไม่เหมือนกัน และอาจมีบางโปรแกรม ต้องคอมพายใหม่ให้เหมาะกับแต่ละเวอร์ชั่น ด้วย (เหมือนใน Windows ก็มีบางโปรแกรมใช้ได้กับ XP ใช้กับ 98 ไม่ได้ก็มี) ซึ่งในแผ่นที่แถมไปให้พร้อมกับหนังสือ ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ใช้งานง่ายเหมาะสม กับการทำงานในลักษณะของ Internet Server และสามารถทำงานได้ครบทุกเนื้อหาในหนังสือ
    ดังนั้นถ้าใช้ Linux เวอร์ชั้นอื่น ที่ตัวติดตั้งเขาไม่ได้ทำมาให้ใช้งานในลักษณะดังกล่าว จึงอาจมีโปรแกรมเสริมต่างๆ มาให้ไม่ครบตรงกับหนังสือ ผู้ใช้จำเป็นต้องหา Download และคอมพลายโปรแกรมที่จำเป็นจะต้องใช้งานเพิ่มเติม ให้สมบูรณ์ก่อน และถ้ามีปัญหาคงต้องสอบถามหาข้อมูลจากผู้ผลิตโปรแกรมที่ท่านหามาเอง เขาน่าจะตอบได้ตรงกว่า เพราะผู้ผลิตเขาย่อมทราบว่าโปรแกรมเขาได้ติดตั้งอะไรไว้ ไม่ได้ติดตังอะไรไว้ และโปรแกรมใดจะต้องใช้คู่กันด้วย ซึ่งเราได้ตรวจสอบเฉพาะโปรแกรมที่เราผลิตขึ้น และโปรแกรมใดที่จำเป็นต้องใช้เพิ่มเติมจะมีให้ในใน CD อยู่แล้ว และโปรแกรมใดที่จำเป็นต้องใช้คู่กันจึงจะใช้งานได้โดยไม่มีปัญหา ก็จะมีคำแนะนำให้ในหนังสืออยูแล้ว ถ้าติดตั้งจากแผ่นที่แถมไป ท่านก็ไม่จำเป็นต้องหาจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม สามารถใช้งานได้ครบตลอดทั้งเล่มครับ
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 4 การติดตั้ง DNS Server
Q4.1 เซ็ต DNS ตามบทที่ 4 แล้วผ่านทุกขั้นตอน restart DNS ได้ไม่มี Error สามารถ ping ด้วยเลข IP ได้ แต่ไม่สามารถ pine ด้วยชื่อ DomainName ได้เลย ?
A4.1ปัญหาที่พบบ่อยคือ มักจะลืมกำหนดค่า DNS ในส่วนของ client ให้มาชี้ที่ตัว DNS นี้
        - ถ้าเป็น Linux ให้ดูในรูป 3.5 หน้า 3-4 ใส่ชื่อเครื่อง และค่า IP ของเครื่องที่จะทดสอบ DNS และถ้าอยู่ในเครื่องเดียวกันให้ใส่ IP เครื่องตัวเอง
          - ถ้าเป็น Windows client กำหนดที่ Network TCP/IP ของการ์ดแลน และกำหนดค่า DNS เป็นหมายเลขของเครื่อง DNS เซิร์ฟเวอร์ที่ท่านเซตขึ้น
Q4.2 พยายามเพิ่มรายชื่อให้กับ Web server เครื่องอื่นๆ ภายในหน่วยงาน ไม่ได้สักที
A4.2 ถ้ามี Web server หลายตัวในวง LAN เดียวกัน ทำได้ไม่ยากครับ ทำตามหน้า 4-6 จนถึงรูป 4.15 ให้ใส่เลข IP ของ Server นั้นๆ ได้เลยครับ (ถ้าทดสอบตามหน้า 4-12 ผ่านอยู่แล้ว) ควรจะใช้ได้แน่นอน แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือ
     1. ลืมสั่ง Restart DNS ทำตามคำแนะนำหน้า 4-11
    2. ลืมกำหนดในเครื่องที่จะใช้งาน (Client) ให้ชี้ DNS มาที่ตัวที่เซ็ต DNS นี้ ให้ตรวจสอบเช่นเดียวกันกับข้อ Q4.1
Q4.3 ทำ DNS แล้วที่เครื่องแม่ใช้ได้ ping ชื่อผ่าน แต่ที่เครื่องลูก ping ชื่อไม่ผ่าน ? (แต่สามารถ ping ตัวเลขได้)
A4.3 ถ้าที่ตัวแม่ ping ชื่อ ที่ add เพิ่มผ่านแสดงว่าเซ็ต dns ที่เครื่องแม่ถูกต้องแล้ว และ ping ตัวเลขได้แสดงว่าเน็ตเวิร์คไม่มีปัญหา แต่ที่ตัวลูกอาจจะไม่ได้ถูกกำหนดว่าใช้เครื่องใดเป็น DNS ให้ตรวจสอบเช่นเดียวกันกับข้อ Q4.1
Q4.4 เรียกคำสั่ง netconf ไม่ได้ ?
A4.4 ต้องทำบทที่ 3 ก่อนแล้วจะเรียกคำสั่งนี้ได้ครับ
Q4.5 Qx.15 เครื่อง client เรียกชื่อ Server ผ่าน Brownser ไม่ได้แต่เรียกเบอร์ ip ได้ ? (กรณี ไม่ได้ใช้ Linux เป็น Gateway) ?
A4.4 ดูข้อ Qx 15
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 5 การติดตั้ง Web Server
Q5.1 ทำทุกขันตอนถูกต้องแล้ว สามารถแสดง Home page หลักของเดิมที่มากับโปรแกรมที่ติดตั้งได้ แต่พอ copy Homepage เข้าไปกลับไม่สามารถแสดงหน้า Index ที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้ ?
A5.1มักเกิดจากไฟล์ที่ Copy ขึ้นไป บางครั้งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เล็ก เช่น index.html, Index.html , Index.HTM , INDEX.HTM ใน server ถือว่าเป็นคนละไฟล์กัน มันจึงหาไฟล์ตามที่กำหนดลำดับการค้นหา ดังในบรรทัดสุดท้าย หน้า 5-6 ไว้ไม่เจอ
การแก้ไข ลองแก้ชื่อไฟล์เป็น index.html ตัวพิมพ์เล้กทั้งหมดดู หรือเพิ่มในรายการค้นหาในหน้าดังกล่าวก็ได้ ตามชอบ อย่าลืมดูสิทธิ ( ls -la ) ดูว่า ได้ให้สิทธิผู้อืนเข้าอ่านได้หรือไม่ด้วยนะ (คำสั่งเปลี่ยนสิทธิอยู่ในเล่มเล็กหน้า 65)
Q5.2 ทดลองเวปในเครื่อง Windows ได้แต่พอส่งเข้า Server รูปไม่ขึ้น Link ไม่ไป ?
A5.2ปัญหาที่พบบ่อยคือ ตอนสร้าง Homepage ในเครื่อง Windows ที่ไม่ใส่ใจว่าชื่อไฟล์เป็นพิมพ์ใหญ่เล็ก คือไฟล์เดียวกัน มันจึงทำงานได้ แม้ว่าในคำสั่ง <img src="FileName.ext" หรือ <a href="FileName.ext" จะพิมพ์ไม่ตรงกับชื่อไฟล์จริงๆก็ตาม และที่หน้าจอ WindowsExplorer ก็ไม่แสดงตามความจริง และมักจะซุกซ่อนนามสกุลด้วยทำให้เราไม่รู้ว่าชื่อไฟล์ที่แท้จริงคืออะไร สะกดด้วยตัวใหน ให้ลองเข้าหน้าต่าง DOS แล้ว dir ดูนะจึงจะเห็นชื่อแท้จริงของมัน ให้แก้ไขให้ตรงกัน จะใช้วิธีเปลี่ยนชื่อไฟล์ใน directory หรือแก้ในคำสั่ง html ก็ได้ตามสะดวก
และปัญหาที่พบจากการใช้ tool ในการช่วยสร้างเวป บางครั้งมันใส่ที่อยู่เป็น <img src="C:\SubDir\image\FileName.ext" มันจะทำงานในเครื่องตัวเองได้เท่านั้น พอ copy ไปที่อื่นมันก็หาไม่เจอใช้งานไม่ได้ ดังนั้นต้องแก้ไขให้เป็นการอ้างอิงแบบเอาตำแหน่งตัวเองเป็นที่ตั้ง โดยใช่เครื่องหมาย . หรือ .. เช่น
"./FileName.ext" หมายความว่า ไฟล์นี้อยู่ Subdirectory เดียวกันกับตัวมัน หรือ
"./image/FileName.ext" หมายความว่า /image เป็น sub อยู่ใต้ตัวมัน หรือ
"../image/FileName.ext" เป็น sub อยู่เหนือตัวมันขึ้นไป 1 ชั้น หรือ
"../../image/FileName.ext" เป็น sub อยู่เหนือตัวมันขึ้นไป 2 ชั้น เป็นต้น แล้ว Webpage เราจะใช้งานได้ทุกที่
Q5.3 เข้า Web page หลักได้ แต่เข้า Userhome page ไม่ได้ ?
A5.3 คงต้อง ลองพิมพ์ หมายเลข IP หรือชื่อ Domain/~UserName/ แล้วดูผลลัพท์ ว่ามันแจ้ง error อะไร
(มีเครื่องหมาย / ปิดท้าย เพื่อทดสอบดูก่อน เพราะถ้าไม่ใส่ชื่อในขั้นตอนที่ 3 หน้า 5-6 บางครั้งในการเข้าครั้งแรกสุด หรือเข้าจากต่างเครือข่าย ไม่มี / ปิดท้ายมันไม่ยอมไป )
ถ้ามันบอกว่า หาไม่พบ 404
ลองดูว่าไฟล์ index.html ใน /home/chai/public_html/index.html มีไฟล์อยู่จริง สะกดตัวพิมพ์หรือไม่ และ เพราะอาจเป็นปัญหาเดียวกันกับข้อ Q5.1

ถ้ามันบอกว่าไม่ได้รับสิทธิ ลองดูว่า ls -la /home/chai/public_html/ ได้ chmod 755 ให้กับ . หรือ .. หรือ ไฟล์ต่างๆ ดูหนังสือเล่มเล็กหน้า 65 ประกอบ ว่าได้อนุญาตการเข้าถึงหรือไม่
ถ้ามันบอกว่าไม่ตอบสนอง ลองดูว่ามันเปิดบริการให้มี user homepage ได้หรือไม่ แก้ไขไฟล์ httpd.conf ถูกหรือไม่ และ adduser chai ไว้หรือไม่เป็นต้น
Q5.4 เรียกเว็ปของ UserHomepage ทำไม่ต้องมีเครื่องหมาย ~ ครับ ?
A5.4 การใช้เครื่องหมาย ~UserName เพื่อบอกให้เครื่องรู้ว่า ผู้ใช้จะติดต่อกับ user homepage ซึ่งอยู่ที่ /home/pa/public_html/ เพราะเครื่องหมาย ~ ใน คำสั่งภาษา unix base ที่เขาใช้กันเป็นสากลแทน home user คนใช้ dos-win จะไม่คุ้นเคยเพราะมันไม่เคยมี home directory สำหรับหลายๆ user มาก่อนแต่แรก ซึ่งต่อมา win2000-XP จะพยามเรียนแบบใช้ C:\Documents and Settings\UserName มาแทน
ถ้าใช้เครื่องหมาย / จะหมายความว่า จะติดต่อกับข้อมูลใน subdirectory ภายใต้ /var/www/html/UserName/ ซึงเป็นสิทธิการดูแล ของ root หรือ user ที่ได้รับมอบหมาย ถ้าไม่ใช้ ~ จะใช้อะไรดีช่วยแนะนำด้วย

เพื่อความสะดวกไม่อยากให้มีเครื่องหมาย ~ สามารถทำได้โดยใช้ทางเลี่ยงอื่นๆแทน ก็ขอบอกกล่าว(ไม่ได้หมายความว่าแนะนำต้องทำนะ) ที่เห็นเขาทำๆกันสักสองสามวิธีคือ

วิธีที่ 1 ไม่ต้องแก้ไขอะไรมาก แต่ใช้เทคนิคการ Redirec คือ ไปสร้าง sub direct ภายใต้ /var/www/html ชื่อเดียวกับ UserName ที่เป็น Userhomepage เช่น /var/www/html/UserName แล้วสร้างไฟล์ชื่อ index.html ภายในใช้คำสั้ง
<HTML><HEAD>
<META HTTP-EQUIV="Refresh" CONTENT="0; URL=/~UserName/">
</HEAD><BODY>โปรดรอสักครู่...</BODY></HTML>
เมื่อผู้ใช้ เข้า DomainName.com/UserName มันจะไปโหลดไฟล์ที่สร้างขึ้นนี้ แล้วมันจะต่อที่ DomainName.com/~UserName ภายใน 0 วินาที วิธีนี้ก็สะดวกดีทำให้เข้ได้ง่ายขึ้น แต่ชื่อ subdirectory นี้ก็ถูกใช้ไปด้วย และข้อความที่แสดงบน URL ยังมีเครื่องหมาย ~ อยู่ถ้าไม่ซีเรียดก็ไม่น่ามีปัญหาใด

วิธีที่ 2 แต่งตั้งให้ User คนนั้นเป็นเจ้าของ Virtual Host ซะเลย ทำตามบทที่ 6 คือกำหนดชื่อ host เสมือนให้กับ user รายที่ต้องการมี homepage นั้น เช่นเป็น UserName.Domain.com แล้วไปบอกให้ Apache ในขั้นตอนที่ 6 ให้มันรู้ว่าถ้าเข้าด้วยชื่อที่กำหนดนี้ จะให้ไปที่ /home/UserName/ แทนเป็นต้น วิธีนี้ก็ดีทำให้ดูเหมือนว่าเขาเป็น webmaster หน่อย แต่ต้องมีชื่อโดเมน และจัดการที่ DNS name server ให้สอดคล้องกันด้วย

วิธีที่ 3 เข้าไปเซ็ตให้มันรู้จัก คำว่า "user/" แทน "~" เมื่อจะเข้าต้องพิมพ์ DomainName.com/user/UserName แทน ก็เป็นวิธีที่นิยมอีกวิธี แต่ผมไม่ค่อยชอบเพราะ แทนที่จะสะดวก กับลำบากพิมพ์ยาวขึ้น ผมเลยแกล้งไม่ได้บอกวิธีให้ครับ 555

กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 7 DHCP
Q7.1 ในหน้า 7-2 สร้าง Directory (ในบรรทัด mkdir) ไม่ได้?
A7.1 ในเวอร์ชั่นที่แถมให้กับฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ไม่ต้องพิมพ์บรรทัดนี้ ก็ได้เพราะโปรแกรมสร้างให้อัตโนมัติ อยู่ที่ /var/lib/dhcp/dhcp.leases แต่ถ้าไม่ต้องการให้เกิดปัญหา ให้แก้ไขข้อความในหนังสือเป็น mkdir -p /var/state/dhcp (ตัดอักษร d.conf ข้างท้ายออก ขออภัยพิมพ์มาเกิน) ซึ่งตำแหน่งนี้ ใช้สำหรับผู้ที่ใช้เวอร์ชั่นเก่าใช้งานได้ .
Q7.2 DHCP ใช้กับมีลูกข่าย จำนวนมาก หรือน้อยเท่าไรจึงจะเหมาะสม ?
A7.2 ถ้าท่านมีเครื่องลูกไม่มากนัก และทุกเครื่องอยู่ในรัศมีสายตา ซึ่งท่านก็ต้องเป็นผู้ดูแลเอง การใช้ DHCP ก็จะช่วยให้สะดวกขึ้น มีหลักการทำคือ ทำตามหน้า 7-2 ทั้งหมด แลัวมีจุดที่จะแก้ไขคือ Subnet-mask (ทุกจุดที่มีการอ้างถึง) เป็นค่าที่ต้องการ (ดูการกำหนด Netmask ในข้อ Qx.6 และช่วง IP ที่จะแจกตั้งแต่เบอร์แรกถึงเบอร์สุดท้าย ที่ต้องการแจก (ถ้ากำหนด network ใหญ่กว่า class c เลข IP หลักกลางจะต่างกันด้วย)
  แต่จากประสพการณ์ ที่เคยเป็น Admin มีลูกข่ายเยอะ เจอเจ้าของเครื่องที่เก่งจริงไม่กลัวเพราะเขารู้เข้าใจดี เขาจะไม่สร้างปัญหาแต่จะช่วยเราได้ และพวกไม่เป็นเลย พอเราเซ็ตให้เขาใช้ได้ก็จบ ไม่กล้าวุ่นวายเพราะกลัวเสีย แต่พวกแกล้งๆเก่ง รู้ครึ่งๆกลางๆ จะทำให้ปวดหัวมาก ระบบปวนไปหมด หาจุดที่ IP ชนกันก็ยาก เพราะเครื่องแจกอัตโนมัติ กว่าจะหาตัวเจอเขาก็ไม่ยอมรับ แนะนำให้ลองอ่านในหนังสือหน้า 7-4 ดูก่อนค่อยตัดสินใจก็ได้ แต่ผมชอบเลือกใช้วิธีแจกสติกเกอร์มากกว่า เพราะเขาจะชมว่า Admin ใจดีแจกไม่อั่น ใครขอมาให้หมด (ก็ของฟรีพิมพ์มากับมือไม่รู้จะหวงทำไม) แค่ลงทะเบียนเซ็นแกร๊กๆ นิดเดียว Admin ก็จะเปิดให้บริการทันที ติดขัดตรงใหน จะได้โทรมาไปบอกได้ถูกต้อง (อย่าเพิ่งบอกเขานะ ว่ามีปัญหาจะได้ซัดทอดถูกตัว ว่าลงนามแล้วนะ ว่าจะไม่โวยวายหรือสร้างความเดือดร้อนให้ใคร ถ้าเขาทำอะไรผิดติดคุกเองนะ Admin ไม่เกี่ยว หลักฐานมีพร้อม แกล้งๆทันสมัยตาม พรบ.ข่าวสาร) และที่สำคัณคือ Admin ไม่ต้องไปลงมือทำเองให้เหนื่อยก็ได้ บอกเจ้าของเครื่องว่า กำหนดค่าเน็ตเวิร์ค ตามสติกเกอร์ที่แจกให้ไปติดหน้าเครื่อง แล้วจะใช้ได้ หรือถ้าเครื่องเสียจะเรียกช่างที่ใหนก็ทำได้ ไม่ต้องรอเรา(ขี้เกียจไปเป็นคนรับใช้เขา) แต่ถ้าไม่ทำตามสติกเกอร์ที่แจกก็ตามใจ ผลคือเล่นเน็ตไม่ได้แค่นั้น เพราะในวงผมไม่เปิด DHCP และ IP ที่ยังไม่มีคนขอลงทะเบียนให้ใคร ผม Alias (ตามหน้า 6-3 ) อิบไว้หมดแล้ว (อย่าบอกใครนะถ้าไม่มีใครถามเดี๋ยวเขาโกรธ ถ้าใครถามก็บอกว่าผมไม่ได้เอาไป ถือกลับบ้านก็ไม่ได้ (ไม่ได้มุสานะ) อยู่กับ Server ไม่เชื่อลอง ping ดูสิยังเจออยู่เลยว่าไปนั้น :b ถามกลับไปเลยคุณแอบทำอะไรผิด หรือเปล่า Server ถึงไม่ยอมให้คุณใช้ คนอื่นยังใช้ได้เลย) ทีนี้พวกแกล้งๆเก่ง ครูพักลักจำมา คุยว่าเคยทำได้ จะงงไปเลยสมน้าหน้า 555 แต่อย่าลืมวางแผน ทำผัง IP ให้ดีเสียก่อนนะ ลองดูข้อ Qx.7
  สรุปว่า จำนวนเครื่องที่เหมาะสำหรับการใช้ DHCP คือ จำนวนเครื่องที่อยู่ในรัศมีสายตา ที่ท่านสามารถควบคุมเขาเจ้าของเครื่อง ได้อยู่หมัด เช่นเครื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบการดูแลซ่อมบำรุงของท่าน หรือเป็นเครื่องของท่านเอง แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องตรวจสอบว่าใครไปทำอะไรที่ใหนมา หรือกำหนดสิทธิการใช้งาน เป็นรายบุคคล ก็จะไม่แนะนำให้ใช้ DHCP ครับผม .
Q7.3หลังจากแก้ไข dhcpd.conf เสร็จใหม่ๆ ไม่สามารถ restart DHCP ได้ ?
A7.3 ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการแก้ไขข้อความผิดรูปแบบไป เช่นการขึ้นบรรทัดใหม่ การเคาะเว้นวรรค และเครื่องหมายอื่นๆต้องมีอยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็นเท่านั้น ในหนังสือหน้า 7-2 จึงไม่แนะนำให้พิมพ์เอง แต่มีไฟล์ตัวอย่างให้แล้วใน CD ให้ copy มาแก้เฉพาะข้อความที่ต้องการเท่านั้น ข้อความที่เป็นรูปแบบเฉพาะให้คงเดิมทุกประการ ส่วนวิธีแก้ไขให้ copy มาแก้ไขใหม่ให้ถูกต้องก็เรียบร้อย
Q7.4 อยากรู้ว่า dhcp แจก ip อะไรไปบ้างดูได้ที่ใหน
A7.4 ในเวอร์ชั่นที่แถมให้กับฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 พิมพ์ tail -f /var/lib/dhcp/dhcpd.leases
ในเวอร์ชั่นที่แถมให้กับฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 - 2 พิมพ์ tail -f /var/state/dhcp/dhcpd.leases
ซึ่ง Option -f เพื่อให้มันจะรายงานผู้ขอใช้ dhcp คนล่าสุดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสั่งยกเลิกโดยกด Ctrl-C
Q7.5 อยาก dhcp ร่วมกับ Fix IP ต้องทำอย่างไร?
A7.4     การกำหนดค่า IP คงที่ให้กับทุกเครื่อง (Fix IP) เพื่อให้สามารถตรวจสอบ การใช้งานและควบคุมระบบได้ง่าย และช่วยให้การเชื่อมต่อรองระบบได้แน่นอนขึ้น ในบางแห่งที่มีระบบ Lan ไม่ค่อยสเถียน เพราะวางระบบไว้ไม่ค่อยดี ใช้อุปกรณ์คุณภาพต่ำยีห้อถูกเข้าว่า QC. เป็นไงไม่รู้จัก พอใช้งานได้มั่งไม่ได้มั่ง พอโหลดหนักๆ แอบหลุดกลางอากาศก็มี และไม่จำเป็นต้องเปิดเครือง Server ก่อนเครื่องอื่นๆเสมอไป อย่างน้อยแลนก็สามารถใช้งานได้ เมื่อ Server มีปัญหา การ Fix IP ก็ช่วยได้มาก
        แต่ในบางครั้งต้อง ที่มีเครื่องจรเข้ามาต่อเข้ากับ LAN ของเราเป็นครั้งคราว ไม่อยากเซ็ต IP ให้เครื่องเขา อยากใช้ DHCP ด้วย ก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการวางแผน ตัวอย่างเช่น กำหนดให้ที่ใช้งานประจำที่เป็นแบบ Fix IP ให้หมด แล้วให้เครื่องจรมาเป็นครั้งคราว ใช้ DHCP กำหนดค่าดังนี้ (สามารถกำหนดเองได้ตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องตามนี้เสมอไป และ x.x.x... คือค่าหมายเลข IP ที่ท่านใช้งานจริง ห้ามพิมพ์เป็น x.x.x... นะครับ)
IP x.x.x.1-x.x.x.10 และ x.x.x.251-254 สำรองไว้สำหรับเครื่องต่างๆที่ Admin ดูแลโดยตรงเช่น Server , Router etc.
IP x.x.x.11 - x.x.x.200 ไว้กำหนดให้กับเครื่องลูกต่างๆที่เป็นแบบ IP คงที่ ไม่ให้ DHCP แจกให้
IP x.x.x.201 - x.x.x.250 ไว้สำหรับ DHCP แจกค่าอัตโนมัติ โดยห้ามกำหนด IP ในช่วงดังกล่าวให้กับเครื่องใดๆเลยเพื่อป้องกัน DHCP แจกมาชนกัน และไปตั้งค่า range ในหน้า 7-2 เป็น x.x.x.201 x.x.x.250; ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ง่ายด้วยว่าถ้าเครื่องใดขณะใช้งานมีเลขท้าย IP อยู่ ที่ 201-250 แสดงว่าเครื่องนี้ยังไม่ได้ตั้งค่า IP กำลังใช้ DHCP อยู่ ทำให้การใช้งานสะดวกขึ้น แต่คุณสมบัติของการควบคุม IP แบบ 100% ตามที่แนะนำในข้อ [7.2] จะควบคุมได้ไม่ 100% แล้วครับ
        สำหรับผู้วางผังเป็นรูป 1.2 , 1.5 ถ้ามี IP Share หรือ Router อยู่ในวงด้วย ซึ่งที่ IP Share อาจจะมีคุณสมบัติ DHCP มาด้วยทำให้มี DHCP มากกว่า 1 ตัวอยู่ในวง LAN เดียวกัน จึงอาจเกิดปัญหาว่าขณะนี้ลูกข่ายได้รับ DHCP มาจากเครื่อง IP Share หรือจาก Linux ที่ทำบทที่ 7 นี้แล้วกันแน่ และถ้าช่วงการแจกเลข IP ทับกันก็เกิดปัญหา IP ชนกัน แต่ถ้า IP อยู่คน ย่านเช่น ipshare เป็น 172.16.1.2-254 และ Linux เป็น 192.168.0.2-254 ก็เกิดปัญหา Ping กันยังไม่เจอเลย หรือต่างกลุ่มต่างวิ่งในบริการของตนเอง ดังนั้น จึงควรวางแผนแล้วไปกำหนดค่า ในส่วนของ DHCP ให้ Enable/Disable หรือเหลือทำงานเพียงตัวใดตัวหนึ่งก็พอ หรือถ้าอยากให้มีทั้ง 2 ตัวก็ได้ แต่ค่า Range ของแต่ละตัวต้องไม่ทับกัน เช่น
x.x.x.1-150 สำรองเหลือไว้ ไม่ให้ DHCP ตัวใดเลยแจกค่าสำหรับกำ Fix IP
x.x.x.151-200 สำหรับ DHCP 1 แจก
x.x.x.201-250 สำหรับ DHCP 1 แจก
แต่ความคิดเห็นผมคิดว่า ในสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ที่เรามีใช้กัน คงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องหาเรื่องทำให้ยุ่งยากขนาดนี้ก็ได้ แต่อยากจะลองศึกษาเล่นๆก็เป็นไปได้ครับ
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 8 Squid Proxy
Q8.1 ใช้งานได้แล้วแต่ Shutdown แล้วรุ่งขึ้นเปิดเครื่องใหม่ Proxy ไม่ทำงาน ?
A8.1 เป็นเพราะลืมตั้งให้มัน Start ตัวเองทุกครั้งที่ Boot ให้ทำข้อ 9 หน้า 8-7 ครับผม .
Q8.2 ใช้งานได้ไม่กี่วัน Proxy ก็จอดสนิด ?
A8.2 เกิดได้หลายสาเหตุดังนี้
    - เกิดจาก Log ไฟล์เต็ม เพราะทุกครั้งที่ลูกข่ายใช้งาน จะถูกบันทึกไว้ใน log file นี้ และปัจจุบันมีไวรัสบางตัวไม่สามารถติดในเครื่อง Linux ได้ แต่ไปติดฝังตัวในเครื่อง windows ลูกข่ายแทน และส่งข้อความไปร้องขอ ให้ Proxy ทำรายการให้ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน Proxy ก็ไม่ล่ม แต่พยามบันทึกการร้องขอนี้ไว้จนไฟล์อ้วน เต็ม Harddisk แล้วจะหยุดให้บริการชั่วคราว พอลบไฟล์นี้ออก squid restart ใหม่ก็ใช้งานได้อีกตามปกติ (ดูรายละเอียดหน้า 8-15) ถ้าเรา เข้าไปดูข้อมูลใน log ไฟล์นี้ (ใช้คำสั่ง tail -f /var/log/squid/access.log และออกกด Ctrl-c) จะเห็นว่าเครื่องใด กำลังดูเวปใหน และเครื่องใดที่ร้องขอไม่ยอมหยุด ท่านไปจัดการได้เลย
    - เกิดจากการแบ่ง Partition var เล็กเกินไป เพราะถ้าท่านทำตามหนังสือนี้ ได้อธิบายเหตุผลไว้ใน หน้า 2-11 และ 8-5 ไว้แล้วว่าทำไม่ต้องบังคับให้แบ่ง Partition แบบกำหนดเอง ห้ามเลือกแบบเครื่องกำหนดให้อัตโนมัติ เพราะค่าอัตโนมัติเครื่องจะทำ /var ไว้น้อยมากที่สุดที่ระบบจะเริ่มทำงานได้ในระยะทดลองใช้ เท่านั้น
    - กำหนดขนาดของ cache_dir หน้า 8-4 ไว้เต็มเกินไป เช่นกำหนด Partition /cache ไว้ 500 M และจะกำหนด cache_dir ไว้ 500M ไม่ได้ ให้ กำหนดได้ไม่ควรเกิน 90% - 20 M เพราะเหลือให้ระบบใช้เองสัก 20 M และเป็นเนื้อที่เก็บ Directory สัก 10 % และที่เหลือค่อยเป็นที่เก็บข้อมูล ดังนั้นถ้ายกให้เก็บข้อมูล ทั้งหมด วันใดที่มีข้อมูล cache มาเต็มจะทำให้ทำงานต่อไม่ได้ การแก้ไขก็ไม่ยาก แค่ลบไฟล์ใน /cache/squid ออกหมด กำหนดค่าใน cache_dir ใหม่ แล้วทำข้อ 7 หน้า 8-6 อีดครั้ง ก็เสร็จ
Q8.3 เมื่อป้องกันเว็บโป็แล้ว ตัวลูกสามารถเข้าหน้าแรกของ hotmail ได้ แต่ใส่รหัสแล้วมันไม่ทำงานโดยฟ้องว่า ถูกล๊อก ?
A8.3 สาเหตุมักเกิดจาก การล๊อกโดนไม่ตั้งใจ ซึ่งในหนังสือหน้า 8-14 แนะนำไว้ 2 วิธีคือ ๆ
    - วิธีตามข้อ 2.1 ล๊อกทุกเวปเพจที่มีข้อความว่า sex หรือ nude หรือ porn หรือ adult เป็นวิธีที่ง่ายครอบคุมหมดไม่ต้องรู้จักชื่อเวป ก็สามารถล๊อกได้ แต่บังเอินตอนใช้ hotmail ในหน้านั้นมีการกล่าวถึงเพศผู้สมัครซึ่งมีคำว่า "sex" หรือมีข้อความ "adult" อยู่ด้วย หน้านั้นเลยโดนแบนไปด้วย
    - วิธีตามข้อ 2.2 ล๊อกเวปที่มีรายชื่อใน List ให้พิมพ์รายชื่อเวปต้องห้ามลงในไฟล์ วิธีนี้ควบคุมได้แม่นยำกว่า แต่ไม่มีทางล๊อกได้ 100% เพราะมีเวปที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นทุกวันเราไม่มีทางตามเก็บได้หมดแน่นอน เพื่อความสะดวกผมมีให้ Download รายชื่อเวปต้องห้าม เอาไว้ล๊อกพอเป็นพิธีว่าเราได้ทำพยามแล้ว โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ให้แล้วที่ http://www.scienctech.com/Download ไฟล์ชื่อ backlish (รายชื่อเวปต้องห้ามนี้มีไว้ล๊อกนะครับ ไม่ได้บอกว่ามีไว้ดู !ô.ô! ฮาๆ)
    แต่จากประสพการณ์เรายิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุให้เด็ก พยายามค้นหาแข่งกันใครพบเป็นฮีโร่หรือเปล่าก็ไม่รู้ ผมชอบใช้วิธีนี้เมื่ออยากให้เด็กค้นคว้า ส่วนการล๊อกทำพอเป็นพิธีกันเจ้านายว่าไม่ดำเนินการ แต่สำหรับนักศึกษา สอนบังคับแบบเด็ก นศ.ก็เป็นเด็ก ถ้าสอนแบบผู้ใหญ่ เขาก็จะเป็นผู้ใหญ่ คุยกันดีๆ อยากดูก็ดูไปผมไม่ห้าม แต่งานต้องเสร็จ และถ้ามีแขกมาก็ช่วยปิดๆ หน่อย ไว้หน้ากันบ้าง ถ้าไม่ช่วยกันอุตสาห์ไม่ล๊อกทั้งหมดแล้ว ทำให้ผมถูกตำหนิ เดี๋ยวจะปิดทั้งหมดนะ เขาก็รู้เรื่องดี พอปล่อยให้อิสระสักพักเขาก็เลิกดูไปเอง ว่าไม่เห็นมีอะไร ไร้สาระ ไม่ท้าทาย ชักช้าด้วย พอมีใครดู โดนเพื่อนๆกันด่าให้อีกว่า "กลับไปนอนดู VDO X แกล้มเบียร์ที่บ้านไป" ไม่มีอะไรน่าสนใจ ทำให้เสียเวลาเพื่อนๆ จะรีบ Load งานต้องช้าลงด้วย
Q8.4 อยากดูว่า เครื่องลูกข่ายที่ใช้ proxy เข้าเวปไหนบ้าง ?
A8.4     ปกติแล้วในระบบ Linux จะมีการบันทึกการใช้งานเป็น Text ไฟล์เสมอ ดังนั้นเราสามารถดูการใช้งานต่างๆ โดยอ่านใน log file ได้ตราบเท่าที่ต้องการด้วยโปรแกรม แสดงข้อมูลใน text file ทั่วๆไป เช่นคำสั่ง cat (เหมือนคำสั่ง type ใน dos) และคำสั่ง tail คล้ายคำสั่ง cat แต่แสดงเฉพาะ 10 บรรทัดสุดท้ายของไฟล์ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาอ่านไฟล์ ที่ยืดยาวมาตั้งแต่ต้น การใช้คำสั่งให้เปิดดูในหนังสือเล่มเล็กที่แถมไปหน้า 60 และ139
    ถ้าไม่มีการเปลี่ยนที่อยู่การเก็บ squid log file access จะอยู่ตามที่ระบุในหน้า 8-15 สามารถทำตามตัวอย่างบรรทัดสุดท้ายหน้า 139 เพื่อดูค่าที่กำลังใช้งานเป็นปัจจุบันได้ทันทีเลยครับ
Q8.5 อยากรู้และปรับแต่งให้ proxy สามารถ cache ได้ดีที่สุด ?
A8.5 การดูว่า Proxy ได้ไปให้บริการลูกข่ายอะไรบ้างลอง moniter ดูได้โดยพิมพ์
tail -f /var/log/squid/access.log
แล้วไปลองใช้ web ที่เครื่องลูกดูถ้าขึ้น
    HIT:NONE แสดงว่ามันพบใน cache
    CLIENT_REFRESH แสดงว่าลูกข่ายสั่งให้ไปเอามาใหม่
    TCP_MISS:DIRECT แสดงว่าไม่มีใน cache หรือเพจมีการ updata ใหม่ (ออกกด ctrl-c)
ถ้าไม่มีขึ้นอะไร มันนิ่งอยู่เฉยๆ แสดงว่าลูกข่ายยังไม่มีการใช้ Proxy เลย ลองดูว่าที่เครื่องลูกเครื่องนั้นได้เซต proxy ไว้หรือเปล่า
    การปรับแต่ง ลองเปลี่ยน policy ตามหน้า 8-16 เป็น LRU หรือ GDSF หรือ LFUDA คือการกำหนดว่าจะให้ proxy เลือกเก็บเพจประเภทใดเข้าก่อนและเพจใดสมควรคงอยู่ใน cache แล้วอย่าลืม restart proxy ให้มันรับรู้ค่าใหม่ด้วยนะ สังเกตผลดูว่าค่าใดเหมาะสมกับหน่วยงานเรามากที่สุด ตามทฤษฤีผู้เขียน บอกว่า GDSF ดีที่สุด แต่บางครั้งลองกับเน็ตเวอร์ขนาดเล็ก LRU กลับได้ HIT สูงกว่าก็เป็นได้ดังนั้น จึงควรลองปรับแต่งเอานะครับ
    ถึงแม้ว่า Proxy จะสามารถ Cache เพจอายุสั้น หรือ Active Server Page หรือ dhtml ที่เกิดจากการ Generate สดๆ ทุกครั้งที่คลิก จาก Server เช่น .asp ได้ก็ตาม แต่ไม่สามารถให้เกิดการ HIT ได้เลย เพราะเพจหมดอายุแล้วทุกครั้งที่ลูกข่ายขอดูใหม่ จะทำการ refesh ใหม่ทุกครั้งจึงทำให้ proxy ช่วยความเร็วกับ เวปประเภทนี้ได้
    และการทำงานทุกครั้งที่ลูกข่ายขอเพจมา proxy จะยังคงติดต่อข้อมูลใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้รู้ว่ามีการ update หรือไม่ถ้าไม่ก็จะเอาไฟล์ใน cache ให้ลูกข่ายทันที ดังนั้น ถ้าเครือข่ายช้ามากๆ ดังเช่นที่บริการเน็ตฟรีทั้งหลาย ที่ถูกรุมกันใช้ ลูกข่ายก็ยังคงต้องรอการ connect อยู่ดี แต่มี proxy ก็ยังดีกว่าไม่มี เพราะไม่ต้องเบียดเสียดกันออกไปเอาเน็ตทุกเครื่องในระบบเครือข่ายของเราเอง และจะได้ความเร็วตรงที่ไม่ต้องไปเอาไฟล์มาทั้งหมด ซึ่งช่วยลดข้อมูลบนสายได้มาก แต่ถ้าพฤติกรรมลูกข่าย ไปเอาเพจไม่เคยซ้ำกันเลย หรือเป็นเพจที่ gen.กันสดๆ ก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพของ proxy เท่าที่ควร
Q8.6 logfile เต็มแก้อย่างไร ?
A8.6 ไม่จำเป็นต้องลบไฟล์ access.log ทิ้ง เแค่ลบข้อมูลภายในที่มันบันทึกไว้ก็พอ ใช้คำสั่ง touch /var/log/squid/access.log มีค่าเท่ากับสร้างไฟล์ว่างๆไว้แทน
    แต่ถ้า partition นี้ยังไม่เต็ม จะใช้คำสั่ง squid -k rotate จะสะดวกกว่า เครื่องจะเปลี่ยนไฟล์เดิมไปไฟล์ลำดับถัดไป และสร้างไฟล์ว่างมาแทนที่ จำนวนไฟล์ที่หมุนวนอัตโนมัติ อยู่ในบรรทัด logfile_rotate และถ้าไม่ต้องการให้บันทึกไฟล์เลยก็ได้ ดูอธิบายที่หน้า 8-15
    ถ้าต้องการให้ เครื่องหมุนวน Log ไฟล์เองอัตโนมัติ ทุกๆเวลาที่ต้องการ ให้ใส่คำสั่ง squid -k rotate ไว้ในคำสั่ง contrab ในทำนองเดียวกันกับที่เคยทำให้ icq ทำงานเป็นเวลา (หน้า 16-8) เมื่อพิ่ม crontab -e แล้วพิมพ์เพิ่มต่อท้าย เช่นให้ทำงานทุกเวลา 16.25 น. ของทุกวัน ให้พิมพ์ 25 16 * * * /sbin/squid -k rotate บันทึกแล้วออก
    และถ้า cache เต็มเร็วผิดปกติ ชั่วโมงเดียวมาเป็นหมื่นๆบรรทัด ให้ดูในไฟล์ (tail -f /var/log/squid/access.log) ว่า ip มาจากเครื่องใดใช้งานเมื่อเวลาใด ถ้าเป็นเครื่องลูกเมื่อ tail ดูแล้ว เห็นวิ่งตลอดแม้นว่าไม่มีคนคลิกก็ตามแสดงว่าเป็น virus ที่เครื่องนั้น ถึงแม้ว่ามันไม่ติดในเครื่อง Linux ก็ตาม ควรจัดการ Virus ที่เครื่องนั้นๆให้สิ้นซาก เพื่อประสิทธิภาพของระบบ และถ้า ip มาจากเครื่องแม่อื่น หรือ proxy หลายตัว อาจเป็นเพราะมีการเซตผิดพลาดให้มันหมุนวนอยู่ในเน็ตเวริตไม่ได้ออกสักที่ ก็ควรแก้ไขให้ถูกต้อง
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 11 Mail Server
Q11.1 ลูกข่ายใช้ mail ภายนอกได้ แต่ไม่สามารถรับ-ส่งเมล์ภายในระหว่างคนละ user ได้ ?
A11.1 แสดงว่ายังไม่ได้ใช้ mail server ที่ตั้งขึ้นเองเลย (การเรียกใช้คือการตั้ง pop3 & smtp ให้ชี้มา Mail server ที่ท่านตั้งขึ้น) แต่ที่เห็นใช้ mail ได้ก็เพราะมันวิ่งผ่าน firewall ออกไปใช้ Mail server ข้างนอก แต่ถ้าตั้งเป็น mail ภายในแล้วใช้ไม่ได้แสดงว่า การกำหนดค่าต่างๆ ตามบทที่ 11 อาจจะไม่ครบถ้วนให้ลองตรวจสอบดูอีกที
Q11.2 สามารถรับ-ส่งเมล์ภายใน LAN ระหว่างคนละ user ได้แต่ต้องใช้เลข IP แต่ไม่สามารถใช้ ชื่อ Domain ได้?
A11.2 ถ้าท่านสามารถรับส่งเมล์ภายใน LAN ระหว่างคนละ user ได้แล้ว โดยตั้ง pop 3 และ smtp เป็นเลข IP แสดงว่า การติดตั้ง mail server ของท่านครบถ้วนถูกต้องทุกประการ แต่ถ้าเกิดปัญหาขึ้นก็น่าจะเกิดจากส่วนอื่นเช่น DNS ยังไม่ได้เพิ่มชื่อ Mail server จึงสามารถใช้งานได้เฉพาะเลข ip แต่ไม่สามารถใช้ชื่อ domainname ได้
Q11.3 สามารถรับส่งเมล์ภายใน LAN ระหว่างคนละ user ได้ ไม่สามารถรับ Internet mail จากภายนอกได้ ?
A11.3 ถ้าท่านสามารถรับส่งเมล์ภายใน LAN ระหว่างคนละ user ได้แล้ว แสดงว่า การติดตั้ง mail server ของท่านครบถ้วนถูกต้องทุกประการ แต่ปัญหานี้มักจะเกิดกับผู้ใช้ Dial Line กับ Mail Server เพราะว่า
      ถ้าท่านไม่ได้ต่อ lease line หรือมีการ connect แบบมีเลข IP Addess แบบถาวร (เช่นการต่อแบบหมุนโมเด็ม) ชาวโลกจะไม่สามารถใช้งานบริการจาก server ของท่าน หรือส่งข้อความมาถึง server ท่านได้ เนื่องจากท่านไม่มีที่อยู่เป็นตัวเป็นตนที่แน่นอนแต่ละครั้งที่ Connect จะได้ เลข IP เปลี่ยนไปเรื่อยๆ (แต่ท่านสามารถใช้บริการจาก Server ภายนอกได้ตามปกติในฐานะ client user ) ท่านจะสามารถทำได้เพียง Intranet server (แต่ใช้งานร่วมกับ Ineternet ได้ในฐานะ user เท่านั้น)
      เสมือนกับการตั้งร้านค้าที่ไม่มีบ้านเลขที่ (ip) และไม่ได้ขึ้นทะเบียนร้านค้า (จดทะเบียนโดเมนเนม) ชาวโลกย่อมไม่สามารถติดต่อท่านได้ แต่ขายของบริการให้ลูกค้า (Client) ภายในตนเองได้ (Intranet) ส่วนลูกค้าไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนมีบ้านเลขที่ เที่ยวไปซื้อของ(ใช้บริการ)ที่ไหนก็ได้ทั่วโลก ดังนั้นถ้าท่านมี Real IP และจดทะเบียนโดเมนมาแล้วก็ เพียงกำหนดชื่อโดเมนและเลข IP ดังที่ได้ไปขึ้นทะเบียนมา แล้วทุกอย่างก็จะใช้งานได้สมบูรณ์ และถ้า IP ไม่พอใช้ก็ตั้ง Local ip อีกขาไว้ให้บริการลูกข่ายภายในเป็น 192.168.100.xx หรือเลขอื่นๆก็ได้ตามสะดวก และจะมีกี่ user ก็ได้ ทุกอย่างอยู่ในกำมือท่าน
      แต่ถ้าไม่มี Real ip ก็คือการทำ mail ภายในใช้ในหน่วยงานของท่านได้เสมือนใช้ Internet mail จริงๆทุกประการแต่การใช้งาน Send-Receive mail ได้อย่างรวดเร็วกว่า ไม่ต้องต่อโมเด็ม เพราะไม่ต้องออกไปข้างนอก ใช้ส่งงานหนังสือคำสั่งต่างๆระหว่างแผนกงานได้เป็นอย่างดี ถ้าเป็นโรงเรียน ก็ใช้สอนเด็กได้เสมือนจริง เมื่อเด็กส่งงานผ่าน e-mail ก็มาส่งเครื่องไหนก็ได้ในโรงเรียน (ห้ามให้เพื่อนข้างนอกส่งให้) ก็สามารถควบคุมการใช้งานและบรรลุวัตถุประสงค์การศึกษาได้เช่นกัน และ local account ไม่สามารถรับ mail ข้างนอกได้โดยตรง ถ้าต้องการใช้ข้างนอกเมื่อไรก็ทำ Account เพิ่มที่ outlook ให้ชี้ว่า ตอนส่งออกให้ใช้ server ใดเป็นผู้ส่ง (SMTP) ให้ เช่น ใช้ Connect ผ่าน 1222 totonline ก็ให้ตั้ง SMTP เป็น mail.totonline.net (หรือ Dial ผ่าน ISP ใดก็ใช้ smtp ที่นั้น) และ Mail box (pop3) ท่านอยู่ที่ใด ได้ตามต้องการ
Q11.4 สามารถรับเมล์จากภายนอกได้ แต่ส่ง mail ออกภายนอกไม่ได้?
A11.4 การส่ง Mail ออกภายนอก ลูกข่ายจำเป็นต้อง ตั้ง SMTP ใน outlook หรือโปรแกรม Mail client ให้ ชี้ไปที่ SMTP Server ที่ถูกต้องพร้อมใช้งานด้วยเสมอ เช่น ถ้าท่านต้องการใช้ SMTP ของ ISP ก็ให้ตั้งไป เป็น SMTP ของ ISP รายที่ท่านกำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้นด้วย เช่น ใช้ Connect ผ่าน 1222 totonline ก็ให้ตั้ง SMTP เป็น mail.totonline.net (หรือ Dial ผ่าน ISP ใดก็ใช้ smtp ที่นั้น) และ Mail box (pop3) ท่านอยู่ที่ใด ได้ตามต้องการ
      แต่ถ้าท่านทำ SMTP ไว้ใช้เองตัวลูกก็ให้ชี้มาที่ SMTP Server ตัวนี้ แต่อย่าลืมว่าตัว SMTP Server นีต้องสามารถส่ง Mail ออกข้างนอกได้ก่อนนะ เพราะขณะที่มันเป็น Server ให้ลูก มันก็เป็นลูกที่จะต้อง connect เข้า SMTP ตัวแม่ขอข้างนอกอีกที
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 13 การติดตั้งเครื่องรับโมเด็ม
Q13.1 ที่ทำงานผมมีอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว(มีวงจรเช่าเชื่อมต่อตรงเข้าหา ISP) ต้องการให้เครื่องที่บ้านหมุนโมเด็มเข้าที่ทำงาน จะได้ทำงานจากที่บ้าน และขอใช้อินเตอร์เน็ตของหน่วยงานได้หรือไม่ ?>
A13.1 ได้เลยครับ เนื้อหาในบทที่ 13 นี้สำหรับการนี้ครับ   ผมเองเคยก็ใช้วิธีนี้ (ตอนสมัยที่ยังไม่มี งบซื้อ Router รุ่นที่มีหลายๆโมเด็มใช้) Login เข้าหน่วยงานผมเองโดยไม่ต้องซื้อชัวโมงเน็ต และเปิดให้บริการ(แจกซอง account) กับลูกข่าย แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือ
    - จะต้องมีสายโทรศัพท์ ต่อตรงเท่ากับจำนวนโมเด็ม ที่เปิดให้บริการ
    - ต่อโมเด็มได้เพียง 2 ตัวเพราะ เครื่องคอมพิวเตอร์มี Com: เพียง 2 Port ถ้าต้งการมากกว่า 2 คู่สายจะต้องหาอุปกรณ์ Multiport เป็นหนวดปลาหมึกเพิ่มเพื่อต่อโมเด็มได้หลายตัวขึ้น และวิธีการ config และ driver ต้องติดต่อสอบถามจะผู้จำหน่ายเอาเอง เพราะการ config ของคนละรุ่นอาจไม่เหมือนกันได้ แต่มีหลักการคือ ต้องทำให้เครื่องคอมฯของท่านรู้จักอุปกรณ์ ที่ต่อเพิ่มไปนี้ก่อน แล้วค่อย Config ที่ mGetty เพิ่มหมายเลข port ลงไป
Q13.2 ทำตามบทนี้แล้วเครื่องแจ้ง Error เกี่ยวกับโมเด็ม มารบกวนอยู่เรื่อยๆ ?
A13.2 เครื่องจะแจ้งเตือน ตลอดเมื่อท่าน ปิดโมเด็ม หรือถอดโมเด็มออก ถ้าโมเด็มปกติอยู่จะไม่แจ้ง Error เพราะหน้าที่ของโปรแกรมนี้คือ จะคอยตรวจสอบการรับสัญญาน จากโมเด็ม ว่ามีผู้หมุนโทรศัพท์เข้ามาหรือไม่และพร้อมให้บริการตลอดเวลาหรือไม่ ถ้าโมเด็มผิดปกติไปจะแจ้งเตือน ดังนั้นถ้าไม่ใช้งานให้ Stop service นี้โดย ใส่เครื่องหมาย # หน้าข้อความที่พิมพ์เพิ่ม ในข้อ 1,2,3 หน้า 13-2 ถึง 13-3 เพื่อให้เป็นเหมือนเดิมก่อนแก้ไข และอย่าลืมสั่ง init q เพื่อ reset daemon ด้วย
Q13.3 ลูกข่ายหมุนเข้ามาได้ โมเด็มตอบรับแล้ว ถึงตอนตรวจสอบชื่อระหัสผ่านแล้วหลุด ?
A13.3เป็นอาการของการตรวจสอบยังไม่พบว่า user รายนี้ยังไม่ได้รับสิทธิหมุนเข้า
จะต้องเพิ่มรายชื่อผู้มีสิทธิหมุนเข้าก่อน ตามหน้า 13-4 ข้อ 5 จะได้รับสิทธิการหมุนเข้าแล้ว สามารถกำหนด Password ได้เองในไฟล์นี้ แต่ในตัวอย่างเป็นการใช้ password จากระบบ (ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องจำ Password ใหม่) สามารถใช้ password เดียวกันได้ จึงใช้เครื่องหมาย * แทนดังตัวอย่าง
ดังนั้นจะต้องเพิ่มชื่อ User ให้กับระบบก่อนทำตามบทที่ 9 หรือใช้วิธีตามหนังสือเล่มเล็กหน้า 53 ก็ได้ตามถนัด
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 14 การต่อโมเด็มเข้าหา ISP
Q14.1 จะเลือกซื้อโมเด็มแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ?
A14.1 ถ้าให้แนะนำก็ขอแนะนำเป็น External แบบ port อนุกรม RS 232 เพราะใช้งานได้ง่าย มีไฟแสดงสถานะการทำงาน อยู่ภายนอก (Internal จะมองไม่เห็น) และไม่ต้องหา Driver ที่ยุ่งยากเพราะ ทุกโปรแกรมรู้จักเป็นโมเด็มมาตรฐานอยู่แล้ว สามารถ Autodetect ได้ และไม่กินกำลัง CPU เหมือนโมเด็ม internal และ USB บางรุ่น ที่หาวิธีติดตั้ง Driver ยากกว่า
Q14.2 ทำตามมาทุกบทแล้ว จนถึงบทที่ 13 ยังได้แต่พอถึงบทที่ 14 เกิด error ต่อโมเด็มก็ไม่ได้ ?
A14.2 ก็ไม่ได้ครับ เพราะบทที่ 13 เป็นผู้ให้บริการรับโมเด็ม แต่บทที่ 14 เป็นคนใช้บริการต่อโมเด็ม ต้องเลือกเอาสักอย่างครับ ดังนั้นถ้าจะทำบทที่ 14 ต้องเข้าไปยกเลิกปิดบริการบทที่ 13 ก่อน ตามขั้นตอนข้อ Q13.2 ไม่งั้นเครื่องจะแย้งโมเด็มกันเอง แต่ถ้าต้องการทำทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกันจะต้องกำหนด ในบทที่ 13 เป็นโมเด็มตัวหนึ่ง และบทที่ 14 เป็นโมเด็มอีกตัวครับ
Q14.3 ต่อโมเด็มติดแล้วหลุด ไม่เคยต่อได้เลย ?
A14.3 สาเหตุที่พบบ่อย
   - ลืมลบค่าของ Gateway ในรูป 14.3 ออก และควร Restart Network อีกครั้ง
   - ลืมเปิด Firewall ให้อนุญาตใช้งาน IP อื่นๆได้ (ข้อ 8 หน้า ผนวก ข.-3) และอนุญาตให้เครื่องอื่นใช้งาน (ตัวอย่างที่ 1 หน้า 16-3)
   - ลองพิมพ์ Username และ password หรือเบอร์โทร ต้องถูกอักขระทั้งตัวพิมพ์ใหญ่เล็กและเครื่องหมายพิเศษ
Q14.4 ต่อโมเด็มติดแล้วหลุด ใช้ได้เป็นบางครั้ง ?
A14.4ถ้าเคยใช้ได้ แสดงว่าตอนที่ใช้ได้คือ Config ไว้ถูกต้อง และท่านไม่ได้แก้ไข Config ภายในเครื่องเลยกลับใช้ไม่ได้ในบางครั้ง แสดงว่าสาเหตุอาจมาจาก ISP หรือคู่สายโทรศัพท์ ดังนั้น ในระหว่างทดสอบหรือซ้อมมือ ควรเลือก ISP ที่ไม่มีปัญหา เพราะถ้าเกิดปัญหาขึ้นจะ ไม่รู้ว่าเพราะอะไร คิดว่าตัวเองเซ็ตผิด (อาจจะถูกอยู่แล้ว) เลยไปแก้ไขเป็นผิดแล้วยุ่งกันไปใหญ่ และเท่าที่ทดสอบเครื่อข่าย IP Network 1222 มีปัญหาค่อยข้างบ่อยและจุกจิก ได้สอบถามไปฝ่ายช่างของ TOT ได้รับคำตอบว่าเป็นที่เครื่อง Server ที่ต้อง link ร่วมกับ ISP หลายๆยี่ห้อ และให้บริการทั่วประเทศ จึงมีปัญหากับผู้ใช้พอสมควร ดังนั้นผมแนะนำให้ทดลองใช้ซองเน็ตที่เป็นเบอร์โทรภายในจังหวัดท่าน work ที่สุด และมีปัญหาก็สามารถโทรไปสอบถาม Admin ภายในท้องที่ได้สะดวกกว่า

Q14.5 ต่อโมเด็มติดแล้วไม่หลุด แต่เข้าเน็ตฯไม่ได้ ทั้งเครื่องแม่และเครื่องลูก ?
A14.5 สาเหตุที่พบบ่อยมาจาก Firewall ลืมเปิดหรือพิมพ์ไม่ถูกต้อง ลองตรวจสอบที่ ข้อ 8 หน้า ผนวก ข.-3 และอนุญาตให้เครื่องอื่นใช้งาน (ตัวอย่างที่ 1 หน้า 16-3)
และเคยพบว่าเป็นที่ ISP ในบางครั้ง จะ ping ได้ถึง Gateway ของ ISP แต่ออกนอกไม่ได้ พอหมุนใหม่กลับใช้ได้ก็มี
Q14.6 ต่อโมเด็มติดแล้ว ออกเน็ตฯ ได้ เฉพาะเครื่องเม่ (ใช้คำสั่ง lynx ได้) แต่ที่เครื่องลูกออกเน็ตไม่ได้ ?
A14.6 สาเหตุที่พบบ่อยมาจาก ipchans ลองทำ ตัวอย่างที่ 1 หน้า 16-3 ดูอีกครั้ง กำหนดค่า IP ถูกต้องตามที่ท่านใช้งานหรือไม่ (ไม่ใช่ลอกเหมือนในหนังสือเดี๊ยเลย แต่ IP ที่ท่านใช้อยู่เป็นเลขอื่นนะ) และที่สำคัญเครื่องแม่ กับเครื่องลูกต้อง ping กันเจอก่อนทั้งสองทางนะครับ
Q14.7 ต่อโมเด็มยังไม่ทันติด connect เลยหลุดแล้วต่อใหม่ตลอดเวลา ?
A14.7 อืมม์ . ปัญหานี้อาจเป็นได้หลายกรณีครับ
   - ถ้าหลุดแล้วขึ้นข้อความ Busy คือสายของ ISP ไม่ว่าง
   - ถ้าหลุดหลังจากส่ง Sending password อาจเป็นเพราะ Password ไม่ผ่านให้ลองพิมพ์ Username และ password หรือเบอร์โทร ต้องถูกอักขระทั้งตัวพิมพ์ใหญ่เล็กและเครื่องหมายพิเศษ หรือชั่วโมงหมดหรือไม่ แต่เคยพบใน ISP อยู่รายหนึ่ง (ขอนุญาตไม่เอยชื่อ แต่ใบให้ว่ายี่ห้อนี้ไม่ค่อยดังเท่าไหร่) ผมทำแล้วไม่ผ่านเหมือนกัน ขนาดต่อ ipshare ยังไม่ผ่านเลย วันดีคืนดีก็ได้แบบฟลุ๊กๆมาบ้าง แต่เครื่อง Windows ที่ต่อโมเด็มตรงกลับใช้ได้ จึงเปลี่ยน ISP เป็นยี่ห้ออื่นก็ใช้ได้ไม่มีปัญหา
   - ถ้ามันหลุดต่อใหม่ตลอด ให้ลองดูเป็นปัญหา และการแก้ไขเดียวกับคำถามข้อ Q14.2 และ Q14.3 หรือไม่ ลองตรวจสอบตามข้อ Q14.8 ทั้งหมดดู น่าจะใช้ได้ เพราะคนอื่นๆเขาก็ใช้ได้กันอยู่
Q14.8 ช่วยบอกหลักการการตรวจสอบและใช้โมเด็ม อีกครั้งได้ไหมครับ ?
A14.8 ด้วยความยินดีครับ มีขั้นตอนตรวจสอบดังนี้ .
  1. ขณะทำขั้นตอนที่ 3 หน้า 14-3 ถ้าไม่มีข้อความในไฟล์ ดังตัวอย่างแสดงว่า Linux ยังไม่เห็นโมเด็ม ให้ลองตรวจดูสวิชต์ และสายต่อโมด็มอีกครั้ง แต่ถ้าเป็น internal modem ลองติดตั้ง driver ตามคู่มือ (ReadMe) ที่มีมากับโมเด็มของท่านดู
  2. ต้องมั่นใจว่า ต้องไม่กำหนดค่า Gateway ในรูป 14.3
  3. อย่าลืมเปิด Firewall ให้อนุญาตใช้งาน IP อื่นๆได้ (ข้อ 8 หน้า ผนวก ข.-3) และอนุญาตให้เครื่องอื่นใช้งาน (ตัวอย่างที่ 1 หน้า 16-3)
  4. ในระหว่างทดสอบหรือซ้อมมือ ควรเลือก ISP ที่ไม่มีปัญหา เพราะถ้าเกิดปัญหาขึ้นจะ ไม่รู้ว่าเพราะอะไร คิดว่าตัวเองเซ็ตผิด (อาจจะถูกอยู่แล้ว) เลยไปแก้ไขเป็นผิดแล้วยุ่งกันไปใหญ่ และเท่าที่ทดสอบเครื่อข่าย IP Network 1222 มีปัญหาค่อยข้างบ่อบและจุกจิก ได้สอบถามไปฝ่ายช่างของ TOT ได้รับคำตอบว่าเป็นที่เครื่อง server ที่ต้อง Link ไป isp หลายๆยี่ห้อ และให้บริการทั่วประเทศ จึงมีปัญหากับผู้ใช้พอสมควร ดังนั้นผมแนะนำให้ทดลองใช้ซองเน็ตที่เป็นเบอร์โทรภายในจังหวัดท่าน work ที่สุด และมีปัญหาก็สามารถโทรไปสอบถาม Admin ภายในท้องที่ได้สะดวกกว่า
  5. เครื่องแม่ต้องใช้งานได้ก่อน ค่อยทดสอบที่เครื่องลูก (เคยพบได้บ้างว่าบางครั้ง connect ติดแต่ใช้ไม่ได้ แต่พอ connect ใหม่อีกครั้งกลับใช้ได้ บน windows ก็เคยเป็น น่าจะเป็นที่ ISP หรือคู่สายนะครับ) ให้ลองทดสอบตามนี้ก่อนนะครับ ถ้ายังไม่ได้ให้ลองตรวจสอบตามหน้า 14-4 เมื่อ ping แล้ววิเคราห์จากผลที่ได้ดูนะครับ จะได้บอกได้ว่าเกิดจากปัญหาที่จุดใหน   สำหรับท่านที่เคยใช้ Linux ตัวอื่นมาก่อน อาจพบว่าบางรุ่น connect การโมเด็มงายมาก ไม่ต้องปรับแต่งใดๆเพราะ Linux บางค่ายตั้งค่าปกติมาเป็น Client อยู่แล้ว และการใช้ linux ต่อโมเด็ม คือเรากำลังเป็นลูกข่ายของ ISP (เมื่อตัวเองใช้งานได้แล้วค่อยทำตัวเป็น Server share net ให้ลูกข่าย) ดังนั้น linux ที่ตั้งค่า Default เป็นลูกข่ายจึงใช้งานได้ทันที แต่สำหรับโปรแกรมที่แถมไปกับหนังสือนี้ ตั้งค่าปกติเป็น Server ดังนั้นการกำหนดค่าบางค่า แตกต่างกันอยู่บ้าง หลายจุดเช่น
   - Filewall จะล็อกไว้หมดก่อน ให้ผู้ดูแลเป็นผู้เลือกเปิดบริการเองตามต้องการ ป้องกันการลืมปิด เปิดช่องให้ Hackger เข้ามาวิ่งเล่นได้ง่ายเกินไป
   - ตั้งระบบการทำงานอยู่ใน mode ของ server จะทำตัวเป็นเป็น Gateway ให้ลูกข่าย และต่อตรงเข้ากับ Router แต่ เมื่อต่อโมเด็มไม่มี Rounter เครื่องจะ Gateway ไม่พบ จะทำให้สายหลุดเป็นต้น
(ท่านสามารถนำหลักการในหนังสือนี้ ใช้ได้กับ linux version อื่นๆที่ท่านชื่นชอบได้เช่นกัน เพราะเจตนารมย์ของหนังสือคือแนะนำวิธีการ ทำ server ด้วย linux ไม่ได้จำกัดเฉพาะ virsion ที่แถมไปนี้ แต่ที่จำเป็นต้องมีเพราะจะได้อ้างอิงข้อความในบรรทัดต่างๆ ตรงกันกับในหนังสือ และเป็น Version ที่ได้ทดลองใช้งานจริงมาแล้ว ทำงานได้ค่อนข้างนิ่งดี ไม่จุกจิก มี Software และเครื่องมือต่างๆ ประกอบครบถ้วนตามความจำเป็นใช้งานไม่ต้อง Download เพิ่มเติม และมันใจได้ว่า Utility ต่างๆมีความเข้ากันได้ จึงสามารถใช้ได้ทั้งมือใหม่มือเก่าครับกระผม)
Q14.9 ผมตั้งให้หมุนโมเด็มอัตโนมัติทุกวันเวลา 8.00 น.ตามหน้า 14-5 และวางสายตามกำหนดเวลาได้แล้วแต่ต้องการออกก่อนกำหนดทำอย่างไร ?
A14.9 การยกเลิกการต่อโมเด็ม ในขณะที่ต้องการ (กำลังต่ออยู่) จะมี Process ชื่อ wvdial ให้ killall wvdial ตามหนังสือหน้า14-4 ข้อ 5 ก็ได้ หรือถ้าไม่ยอมออก จะใช้ kill -9 หมายเลขโปรเซต pid นั้น เลยก็ได้(pid ได้จากคำสั่ง ps -aux | grep wvdial )
ส่วนการจะยกเลิกการตั้ง หมุนเน็ตอัตโนมัติ ก็ทำเหมือนตอนที่ตั้ง หน้า 14-5 crontab -e เข้าไปลบข้อความที่ท่านพิมพ์เข้าไปออกแล้วบันทึกออก ( Esc :wq ) หรือถ้าต้องการลบยกเลิกคิวงานทั้งหมดให้พิมพ์ crontab -r ดูเพิ่มเติมได้จากหนังสือเล่มเล็กที่แถมไปหน้า 70
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 15 FTP
Q15.1 ใช้ FTP จากเครื่องลูกไม่ได้เลย ?
A15.1 ให้ทดลองตรวจสอบตามข้อ Qx.2 และ Qx.3 ดูก่อนว่าเกิดจากปัญหาทาง Network หรือ ปิดบริการที่ Firewall อยู่หรือไม่ ถ้าเปิดหมดแล้วยังไม่ได้อีก ให้ทดลองทำตามหนังสือหน้า ผนวก ข-3 ข้อ 8 ให้มี [*] ทุกตัว และหน้า 15-2 เปิดให้ใช้งานฯ จนถึงคำสั่ง restart อีกครั้ง ถ้าไม่แจ้ง Error แปลว่าใช้ได้ แต่ถ้ามี Error ให้อ่านแล้วไปแก้ไขตามที่ที่แจ้งมา เช่นไปแก้ไขไฟล์ ftpaccess หน้า 15-3 บรรทัดใดที่แก้ไขผิด ก็ให้แก้กลับคืนเหมือนเดิม เพราะว่าค่าเดิม สามารถใช้งานได้อยู่แล้ว .
Q15.2 ใช้ FTP จากเครื่องลูกที่เป็น Windows Download ได้แต่ Up load ไม่ได้ ?
A15.2 การตอบรับ FTP ในเครื่อง Linux มี 2 ตัวคือ ftpd กับ wu-ftpd สำหรับท่านที่จากเวอร์ชั่นที่แถมให้กับหนังสือนี้ เครื่องได้ติดตั้ง ftpd ให้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่ทำในบทนี้ก็ตาม จะยอมให้ User ที่ได้ Adduser ไว้แล้วสามารถ Upload และ Download ได้ แต่ถ้าลูกข่ายที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อที่ Add ไว้ เช่นเรียกเวปเข้าไป เพื่อ Download Linux จะใช้บริการจาก wu-ftpd จะเปิดให้บริการในนามของ anonymous ซึ่งมักจะกำหนดสิทธิการเข้าถึงไฟล์แบบอ่านได้อย่างเดียว ไม่อนุญาตให้เขียน-ลบหรือแก้ไขไฟล์ได้ เพื่อความปลอดภัยจากบุคคลภายนอก จึงทำให้ Download ได้ แต่ Upload ไม่ได้ แต่ถ้าต้องการ Upload จะต้อง Login เป็น User ตามที่เคยเพิ่มชื่อบัญชีมาก่อนด้วยคำสั่ง ในหนังสือเล่มเล็กหน้า 53 หรือในบทที่ 9 ของเล่มใหญ่ วิธีใดก็ได้แล้วแต่ท่านชอบ .
Q15.3 ใช้ FTP จากเครื่องลูก Login เป็นชื่อ User แล้วยัง Up load Homepage ไม่ได้?
A15.3 ปกติแล้ว user ทั่วไป จะเข้ามายุ่มย้าม กับ Directory ที่เก็บ Hompage ไม่ได้ เพราะ Directory นี้เป็นของนาย root แต่เมื่อท่าน ftp เข้ามา Login ด้วย User จึงไม่ได้รับสิทธิ ในการแก้ไข Homepage ครับ (ข้อสังเกต เมื่อ ftp เข้าไปจะอยู่ที่ /home/username Directory นี้จะ Up-Down อย่างไรก็ได้)
   ดังนั้น จะต้องมอบสิทธิ์ ให้กับ User คนที่จะมาแก้ไขเวปเสียก่อน หรือไม่ก็ยกโฮมเพจ ให้เป็นบ้านของ User คนนั้นไปเลยเมื่อ login แล้วจะเข้าไปรอในที่เก็บโฮมเพจเป็นบ้านตัวเองไปเลย เช่นตัวอย่างในหนังสือหน้า 5-8 ข้อ 2 สมมุติว่า User คนนี้ชื่อ webmaster เป็นต้น .
Q15.4 ใช้ IE ในเครื่องลูกที่เป็น local IP ไม่สามารถใช้ FTP download ไปข้างนอกได้ ?
A15.4 ที่จริงสาเหตุปัญหานี้ ไม่ได้เกียวกับบทนี้ เพราะบทนี้เป็นการทำ FTP Server เพื่อเป็นผู้ให้บริการเอง แต่ปัญหานี้ เป็นการใช้ FTP Server ข้างนอก จึงเป็นเรื่องของ firewall ให้ไปดูที่ Qx.13
Q15.5 ใช้โปรแกรม FTP อื่นๆ ในเครื่องลูกไม่สามารถ Upload web ขึ้น server ข้างนอกได้ ?
A15.5 ที่จริงสาเหตุปัญหานี้ ไม่ได้เกียวกับบทนี้ เพราะบทนี้เป็นการทำ FTP Server เพื่อเป็นผู้ให้บริการเอง แต่ปัญหานี้ เป็นการใช้ FTP Server ข้างนอก จึงเป็นเรื่องของ firewall ให้ไปดูที่ Qx.14
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหาจากบทที่ 16 การใช้ Firewall
Q16.1 ทำตามหน้า 16-3 แล้วลูกข่ายยังไม่สามารถออกเน็ตได้ หรือได้ไม่ครบบริการ ?
A16.1 ให้ลองตรวจสอบดูตามหน้า 16-3 อีกครั้ง อักษรตัวพิมพ์ใหญ่-เล็ก และการเคาะเว้นวรรค มีความหมายสำคัญ ห้ามผิดเพี้ยน ถ้าพิมพ์ถูกต้อง ถึงข้อ 3 หน้า 16-4 จะได้ผลดังรูป มีข้อความว่า all หมายความว่า Server เปิดให้เล่นทุกอย่างแล้ว และข้อ 4 จะทำให้ มีการเรียกใช้ Fire wall ที่สร้างขึ้นนี้ ทุกครั้งเมื่อ reboot ใหม่อัตโนมัติ แล้วทดลองใช้ดูนะครับเพราะเท่าที่คนส่วนใหญ่ทำตามแล้วใช้ได้ทุกคน มียกเว้นบางกรณีดังนี้
1. ไปปิดไว้ที่อื่นเช่นระบบการรักษาความปลอดภัยอื่นๆ โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
2. ใช้ FTP ไปยัง FTP Server บางแห่งที่มี firewall ใน router สร้าง script พิเศษดักไว้ กำหนดให้ย้ายหมายเลข port เป็นเลขหลักหมื่นๆ ซึ่งค่าปกติเป็น port 21 หรือบางแห่งก็ตรวจสอบว่าเป็น IP จริงหรือไม่ก่อน ทำให้ลูกข่ายไม่สามารถผ่าน firewall ไปได้ (มักจะเป็นที่ server ที่ให้เช่าทำ web hostting บางแห่ง)
Q16.2 ไม่สามารถใช้บริการผ่านเน็ตได้ (ใช้หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1-2 กับ CD พิมพ์ครั้งที่ 3-4 )?
A16.2 เนื่องจากตัวติดตั้ง ที่แถมกับฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1-2 ได้กำหนดค่าเริ่มต้นให้ใช้งานได้ง่ายที่สุด โดยเปิดการตอบสนองบริการที่จำเป็นไว้เพื่อติดตั้งแล้วใช้งานได้ทันที แต่ใน CD รุ่นถัดมาได้เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยไว้สูงขึ้น โดยยังไม่เปิดบริการใดๆไว้ก่อน จนกว่าผู้ใช้งานจะอนุญาตให้ใช้งาน ดังนั้น เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะต้องกำหนด Firewall บทที่ 16 ให้สมบูรณ์ก่อนจึงจะให้บริการลูกข่ายได้ แต่มีวิธีการช่วยให้เปิดบริการต่างๆ เพื่อทดสอบการใช้งานได้ง่ายขึ้น เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้พิมพ์คำสั่ง lokkit เพื่อเปิดบริการที่ท่านเลือก แล้ว [OK] ก็จะสามารถใช้งานได้ตามที่ เช็คเปิดไว้ได้ทันที
หมายเหตุ คำสั่ง lokkit นี้เซตแล้วจะมีผลทันที แต่ถ้าเรียกคำสั่งนี้ใหม่ มันจะกลับคืนค่าที่ปิดบริการไว้ก่อน เพื่อให้เปิดใหม่ได้ตามต้องการ (ซึ่งผลของคำสั่งนี้ จะเป็น script สำเร็จรูปด้วย ipchain เช่นเดียวกับบทที่ 16 ที่เราสามารถเขียน script ควบคุมได้ละเอียด ตรงงานมากกว่า การใช้คำสั่ง lokkit ที่ใช้งานง่ายนี้)
ควร Download เอกสารแนะนำเพิ่มเติม สำหรับผู้ใช้หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
ปัญหา เรื่อง Network และ ปัญหาที่ต้องใช้หลายเรื่องร่วมกัน
Qx.1 ช่วยด้วย! ping ใครไม่เจอเลย ไม่มีใครยอมเล่นปิงปองด้วยเลย ?
Ax.1 อย่าเพิ่งตกใจครับ ใจเย็นๆครับ ค่อยๆตรวจสอบไปที่ละขั้นตอนครับ เพราะผมไม่รู้ว่าท่านวางระบบไว้เหมือนในรูปใหนของบทที่ 1 และกำหนด ip ไว้อย่างไร ผมก็เลยบอกไม่ถูก เหมือนกัน (เหมือนคนจะหัดขับรถบอกเพียงว่ารถเป็นอะไรก็ไม่รู้ สตาร์ดไม่ได้เลย ช่างจะซักถามอะไร ก็ตอบว่าไม่รู้ ถ้ารู้ก็ไม่เรียกช่างแล้ว ! ช่างจึงต้องมาดูเอง จึงรู้ว่าไม่มีกุญแจ และจอดไว้นานแบตเตอรีไฟหมด ไปแล้ว มือใหม่ก็ยังไม่หายสงสัยต่อว่าต้องใช้กุญแจรถด้วยหรือ ใช่ดอกเดียวกันกับที่เปิดประตูรถหรือไม่? และรถฉันใช้ไฟแบตฯ ไม่ได้ใช้น้ำมันหลอกหรือ?? เป็นงั้นไป ) แต่ไม่ต้องเครียดนะครับ ไม่มีใครรู้ตั้งแต่เกิดนี้นา ลองตรวจสอบตามนี้ดูก่อนนะครับ
    1. เอากระดาษมาเขียนผัง เหมือนในรูปบทที่ 1 แต่กำหนดหมายเลข ip ที่คุณใช้อยู่เป็นค่าตามจริงทุกเครื่อง เพื่อใช้เป็นแผนที่ไว้ตรวจสอบได้ง่ายขึน (เพราะการ ping ต้องมีคู่ทดสอบเสมอ เสมือนการเล่นปิงปองไม่สามารถเล่นคนเดียวได้)
    2. ทดลอง ping หมายเลข ip ของเครื่องตัวเองตามที่เขียนไว้ในผังข้อ 1 เพื่อทดสอบดูก่อนว่า OS กัน Lan card (NIC) คุยกันได้หรือเปล่า TCP/IP สมบูรณ์หรือไม่ และในแต่ละเครื่องพร้อมที่จะทำงานหรือยัง ให้ลองทำดูทั้งเครื่องแม่ และเครื่องลูกที่จะร่วมวงทดสอบ (ตัวอย่างคำสั่งหน้า 3-6)
ถ้าได้ แสดงว่า OS สามารถใช้ TCP/IP บนเครื่องตัวเองได้ ข้ามไปตรวจสอบต่อข้อ 3
ถ้าไม่ได้ แสดงว่า TCP/IP หรือ NIC มีปัญหา โอกาสที่เป็นไปได้คือ Lan card เสีย , ติดตั้ง driver ไม่สมบูรณ์ , กำหนดหมายเลข IP ไม่ตรงกับค่าที่ต้องการ และถ้าเป็น เครื่อง Windows จะมีอีกปัญหาคือไม่ได้ลง Protocal ที่ชื่อ Tcp/ip , หรือลืมกำหนด IP Addess เป็นต้น
    3. ทดลอง ping ไปเครื่องอื่นๆ โดยใช้หมายเลข ip เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในวง Lan เดียวกัน ตามผังจากข้อ 1 เพื่อทดสอบสาย lan และอุปกรณ์ Network
ถ้าได้ แสดงว่าอุปกรณ์ Network ที่เชื่อมต่อระหว่างจุดที่ทดสอบไม่มีปัญหา
ถ้าไม่ได้
- ลองดูว่าไฟที่ Nic หรือ Hub ของเครื่องที่กำลังทดสอบอยู่ติดครบเป็นปกติ อยู่หรือไม่ ถ้าไม่ติด หรือติดไม่ครบแสดงว่า เกิดปัญหาที่ สาย Lan , Hub , Nic อาจมีปัญหา ลองตรวจสอบ แก้ไข หรือเปลี่ยนตัวที่มีปัญหาออก
- ถ้าไฟก็ติดครบทุกจุด แต่ขณะที่กำลัง ping ไฟไม่ยอมกระพริบ หรือกระพริบฝ่ายเดียว แสดงว่าฝ่ายที่ไม่กระพริบไม่ยอมตอบสนอง ให้ตรวจสอบที่คู่นั้นๆ
- บางเครื่องที่มีการเซ็ตระบบรักษาความปลอดภัยไว้เป็นพิเศษ (ที่ admin จงใจทำไว้เองนะกรณีนี้เกิดขึ้นเองไม่ได้) ห้ามการ ping เอาไว้ จะ ping ไม่เจอเลย
    4. เมื่อทดสอบเฉพาะในวง Lan ได้แล้วค่อยทดสอบ ping ไปเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Gateway ออกไป Internet แล้วจึง ping ไป IP เครื่องที่อยู่นอกวง Lan เช่นหมายเลข dns ของ isp ที่ท่านใช้อยู่เป็นต้น ถ้า ping ไป gate way ได้แต่ ออกสู่ internet ไม่ได้ก็แสดงว่าปัญหาอยู่ที่ gateway ขึ้นไป ไม่ได้เป็นปัญหาที่เครื่องท่าน แต่ถ้าเครื่องท่านเป็น Gateway เสียเองเหมือนรูป 1.4 หน้า 1-8 ต้องต่อเน็ต และต้องเปิด firewall แล้วทำบทที่ 14 ต่อโมเด็มติดแล้ว จึงจะ ping ออกข้างนอกได้ ไม่งั้น ping ได้แค่ gateway (เบอร์ตัวเอง) นะครับ
ลองทดสอบเบื้องต้นนี้ก่อนก็น่าจะพบปัญหาโดยส่วนใหญ่แล้วละ (แต่ถ้าในวง Lan ของท่านมีเพียงเครื่องเดียว แล้ว ping ใครไม่เจอก็คงไม่แปลกนะครับ)

อ้อ เคยพบอีกปัญหาคือ บางท่านใช้ Lan card 2 แผ่น คนละ IP กันดังรูปหน้า 1-7 เซ็ตเสร็จถูกต้องครบถ้วนทุกประการ แต่ Ping ตัวเองเจอทั้ง 2 การ์ดแต่ Ping เพื่อนบ้านเท่าไรก็ไม่เจอ เพราะเสียบสาย LAN สลับการ์ดกันอยู่ มันไข้วกัน ดังนั้นต้องลองสลับรูเสียบกันดู หรือสังเกต ในขณะ Ping ผ่าน Lancard ใบใหน ใบนั้น(ส่วนมาก)มักจะกระพริบ ทำให้รู้ว่าใบใหนคือ eth0 , eth1 และลองพิมพ์คำสั่งตามหนังสือเล่มเล็กที่แถมไป หน้า 96 ดูว่าเซ็ต IP ไว้อย่างไรก็ได้ (ถ้ามี Lancard มากกว่าหนึ่งแผ่น อย่าลืมเซ็ตบอก IP ให้ครบทุกแผ่นด้วยดังรูป 3.3 มันจะซ่อนอยู่ข้างล่าง ใช้ลูกศรลง)
Qx.2 ลูกข่าย Windows ไม่สามารถติดต่อตัวแม่ Linux ได้เลย ?
Ax.2 เป็นไปได้ หลายกรณีเช่น ปัญหาจาก Hardware , ปัญหาทาง Network และปัญหาระบบรักษาความปลอดภัยปิดเอาไว้
    - ปัญหา Hardware ให้ลองตรวจสอบ ที่สาย LAN ตลอดเส้นทาง ระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องที่นำมาทดสอบ ทั้งหัวและท้ายของปลายสายแลน จะต้องมีหลอดไฟติดทั้ง 2 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่การ์ดแลน และที่ Hub หรือทุกจุดที่สายเสียบอยู่ ตลอดเส้นทางนี้ ถ้าไม่แน่ใจ ให้ถอดหัว RJ-45 (หัวแลน) แล้วเสียบดูใหม่ ว่าแน่นดีหรือไม่ และต้องมันใจว่า Card Lan และ Hub ที่ท่านนำมาใช้ไม่เสีย หรือมีประวัติดีๆหายๆมาก่อนนะ ไม่อยากให้วางยาตัวเอง
    - ปัญหาทาง Network ส่วนใหญ่ที่พบบ่อยคือ ลืมตั้งหมายเลข IP Address ของเครื่องลูกให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน (ถ้าตั้ง TCP/IP ผิด เครื่องลูกกับเครื่อง ลูกด้วยกัน อาจติดต่อกันได้ปกติเพราะ Windows อาจวิ้งบน Protocol อื่นเช่น NetBEUI ที่มองเห็นกันด้วยชื่อเครื่องเท่านั้น แต่จะออกอินเตอร์เน็ตผ่าน Lan ไม่ได้) ดังนั้น ควรตรวจสอบที่เครื่อง Linux ด้วยคำสั่ง ifconfig และที่เครื่อง Windows Click mous ด้วยปุ่มขวา ที่ Icon Network Neighborhood หรือ Network Place เลือก Properties / Configuration / TCP IP -> ชื่อรุ่นการ์ดแลน เลือก Specify an ip address กำหนดค่าให้ 3 หลักหน้าเป็นเลขเดียวกันกับเครื่อง Linux และเลขท้ายเป็นเลขอะไรก็ได้ ระหว่าง 2-253 แต่ห้ามซ้ำกันกับเครื่องอื่นๆ และค่า Subnet ใช้ 255.255.255.0แล้ว OK Reboot ใหม่ แต่ถ้าต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ให้ดูในหนังสือหน้า 1-4 และวิธีตรวจสอบอยู่หน้า 3-6
    - ปัญหาการปิดไว้ที่ระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งค่าปกติเมื่อท่านติดตั้ง Linux ในเวอร์ชั้นนี้ ทันทีที่ติดตั้งเสร็จ จะอนุญาตให้ ping ได้ ส่วนบริการอื่นๆจะปิดไว้ก่อนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อป้องกัน Hacker ไว้ในระดับหนึ่ง เมื่อผู้ดูแลอยากให้บริการใด ก็ค่อยเปิดบริการนั้น ทีละตัวตามเนื้อหาในแต่ละบท เพื่อป้องกันการเปิดประตูบ้าน รอแขกไม่ได้รับเชิญโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นถ้า ping ได้แล้วให้ดูปัญหาข้อถัดไป (Qx.3) แต่ถ้ายัง Ping ไม่ได้อีก ได้ตรวจสอบปัญหาทาง Network จนมันใจแล้วว่าทำถูกต้องทุกประการ Drive card lan ก็ไม่น่ามีปัญหาเพราะ ถ้ามีปัญหาจะตรวจไม่เจอการ์ดตั้งแต่คำสั่ง ifconfig ไปแล้ว และที่สำคัญ ท่านไม่ได้ติดตั้ง ระบบรักษาความปลอดภัย เพิ่มเติมไปล๊อกคอตัวเองจนเข้าบ้านเจ้าของไม่ได้ แล้วละก็น่าจะเกิดจาก ข้อบกพร่องของ Card Lan แล้วละ
Qx.3 ลูกข่าย Ping ได้แต่เรียกใช้บริการจากตัวแม่ไม่ได้ ?
Ax.3 ถ้า Ping ได้แล้วให้ถือว่า เครื่องสามารถติดต่อกันได้แล้ว แต่ติดเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย และบริการต่างๆ ที่ท่านต้องการ ยังไม่ได้เปิดให้ใช้งาน ทดลองทำตามข้อ 7 และ 8 หน้า ผนวก ข.3 ดูก่อน หรือจะเปิด Telnet ด้วยในหน้า ผนวก ข.4 ด้วยก็ได้ เพื่อทดลอง Telnet จากเครื่องลูกที่เป็น Dos/Windows ได้ แต่ที่สำคัญ ในหน้า 17-3 hosts.deny อย่าเผลอไปปิดล๊อก ALL แล้วลืมเปิดให้ตัวเองเข้าได้ด้วยนะ จะกลายเป็นล็อกประตู 2 ชั้น แล้วก็งงทำไม่เข้าไม่ได้
Qx.4 ลูกข่าย เรียกใช้บริการจากตัวแม่ได้ แต่ต้องรอนานผิดปกติ?
Ax.4 ปัญหานี้เคยพบในระบบ LAN ที่มีเครื่องจำนวนมากๆ อาจเกิดจากการ วางระบบไว้ไม่เหมาะสม หรืออื่นๆก็เป็นได้ดังนี้
    - ใช้ telnet หรือ File computer ใน Windows exploler แล้วรอนานกว่าจะขึ้น มักจะเกิดขึ้นเมื่อในวงแลนนั้น มี Wins Server เช่น WindowsNT , Windows2000 หรือเปิด Wins ใน Samba ไว้ เพราะในการเชื่อมต่อกันครั้งแรกระหว่าเครื่อง มันวิ้งหาเส้นทางแบบกระจายไปทั่ว รอจนกว่าตัวที่แย่งกัน ให้บริการ Time out เสียก่อนจึงจะคุยกันรู้เรื่อง วิธีแก้ไขคือ Service ใดใช้ไม่ถึงก็ปิดๆไว้บ้าง หรือไม่ก็ไป Config ให้มันถูกต้องรู้จักกันให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลย
    - ต่อตรงเหรือเพียง 2 เครื่อง แล้วยังช้าอีก ก็เป็นไปได้ ให้ลองเช็คที่เครื่องลูกดูว่า Network config ถูกต้องหรือไม่ เช่นลืมใส่ค่า Gateway หรือใส่ค่าไม่ถูกต้อง และ Dialup network ถ้าเครื่องลูกไม่ได้ต่อโมเด็มเอง ให้เล่นเน็ตฯผ่าน lan ก็ให้ลบออกไปจะดีกว่า เพราะเมื่อเครื่องที่เป็น Windows จะติดต่อกัน มันจะให้ความสำคัญกับ โมเด็มก่อน รอจน Time out แล้วจึงมาใช้ สาย lan พอหา gateway ไม่พบก็วิ่งพลานไปจนครบรอบ แล้วค่อยกลับมาคุยกัน เลยรอนาน ให้แก้ไขที่เครื่องลูก Windows โดย Click mous ด้วยปุ่มขวา ที่ Icon Network Neighborhood หรือ Network Place เลือก Properties / Configuration / TCP IP -> ชื่อรุ่นการ์ดแลน เลือก Gateway ควรจะเป็นหมายเลยเครื่องที่ต่อออกเน็ตฯ เช่น เบอร์เครื่อง Linux หรืออุปกรณ์ที่เป็น Router เป็นต้น
Qx.5 ถ่ายโอนข้อมูลได้ไม่เร็วเท่าที่ควร ทั้งๆที่ปิดเครื่องหรือถอดสาย Lan เครื่องอื่นๆ ออกแล้ว เหลือเพียง 2 เครื่อง ขณะรับส่งข้อมูล ไฟ "Collition" ที่ HUB ยังติดกระพริบอยู่ ?
Ax.5 ไฟ Collition มีโอกาศเกิดขึ้นได้จากสาเหตุข้อมูลบนสายแลนชนกัน ดังนั้น ถ้ามีการใช้ข้อมูลกันหนาแน่นมากในวงแลนจริง แล้วชนกันก็น่าจะปกติ แต่ถ้าไม่มีใครกำลังใช้งานแข่งก้นสักหน่อย ก็ยังติดขึ้นมาได้ อาจมีสาเหตุดังนี้
    - ข้อมูลชนกับสัญญานรบกวนในสาย เช่น มีหัวต่อบางจุดต่อไม่ดี , ใช้สายแลนคุณภาพต่ำแต่เดินสายยาวมากเกินไป , เดินสายขนานชิดกับสายไฟ AC , เรียงสีสายตอนเข้าหัวผิด ทำให้สัญานรบกวนเข้ามาได้
    - ใช้อุปกรณ์ Network ไม่สัมสันธ์กันเช่น ใช้ Hub แบบ Haft duplex แต่ การ์ดแลน เป็นแบบ Full duplex เป็นต้น
Qx.6 มีลูกข่ายมากกว่า 253 เครื่องจะทำอย่างไร ?
Ax.6 สำหรับผู้ที่มีลูกข่ายเป็นจำนวนมาก เช่นโรงเรียน สามารถแบ่ง Segment ย่อยๆ เพื่อการให้บริการและการควบคุมได้ เป็นส่วนๆ ได้ แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนการบริหาร ต้องการให้เป็นวงเดียวกันหมด ให้กำหนด Subnetmask ให้มีขนาดเพิ่มขึ้น เช่น
จำนวน 2 Class C (256x2=512 IP) ใช้ Subnet 255.255.254.0 ตัวอย่างเช่น 192.168.100.0/23
จำนวน 4 Class C (256x4=1024 IP) ใช้ Subnet 255.255.252.0 ตัวอย่างเช่น 192.168.0.0/22
จำนวน 8 Class C (256x8=2048 IP) ใช้ Subnet 255.255.248.0 ตัวอย่างเช่น 192.168.1.0/21
จำนวน 16 Class C (256x8=4096 IP) ใช้ Subnet 255.255.240.0 ตัวอย่างเช่น 192.168.0.0/20
หรือไม่อยากคำนวณ จะกำหนดเป็น Class B ไปเลยก็ได้ใช้ Subnet 255.255.0.0 ตัวอย่างเช่น 172.16.0.0/16
(ตัวเลข Subnet ที่เปลี่ยนไปให้ดูในหน้า 1-4 ประกอบ ส่วนค่าในตัวอย่าง เป็นเลข IP อะไรก็ได้เพราะเป็นวงในที่สมมุติขึ้นเอง และหลังเครื่องหมาย / คือ Subnet เช่นกันแต่บอกในหน่วยของจำนวนบิตของ Subnet และจำนวนเครื่องที่ใช้ได้ทั้งหมดจะมีเท่ากับ จำนวน IP ลบ 2 เพราะเบอร์แรกกับเบอร์สุดท้ายห้ามใช้ และเป็น Server ไปอีก 1 จึงลดลงไปอีก 1 จากโจทย์ 256 IP จึงเหลือเพียง 253 เครื่องสำหรับลูกข่าย)
    - จุดที่ต้องแก้ไขคือ
1. Subnet ของการแลน ethN ที่ต่ออยู่กับลูกข่าย แก้ไขตรงจุด Netmask ตามรูปหน้า 3-3 เพื่อให้ติดต่อกับลูกข่ายได้ เมื่อแก้ไขเสร็จ ทดสอบด้วยคำสั่ง ping
2. ถ้าใช้ Proxy ด้วย จะต้องกำหนดที่บรรทัดสุดท้ายหน้า 8-5 จาก 192.168.100/24 เป็น Subnetmask ที่ต้องการ
3. ถ้าต้องการให้ DHCP แจก IP ต้องแก้ค่า SubNet ในหน้า 7-2 และช่วง IP ที่แจกด้วย ลองดูข้อ Q7.2 ประกอบด้วยนะครับ
4. ส่วน Firewall ใครใช้ทำเป็น NAT เพื่อเชื่อมกลุ่ม IP วงในกับวงนอกไว้ เช่นในหน้า 16-3 บรรทัดสุดท้าย หรือ 16-7 ถึง 16-8 อย่าลืมแก้ ip/subnetmask ตามความเป็นจริง เพื่ออนุญาตให้ลูกที่โตขึ้นด้วยนะครับ เดี๋ยวลูกคนโตจะออกไม่ได้ ไปได้แต่คนเล็ก
Qx.7 จะวางแผนการใช้ IP Address ให้กับลูกข่ายที่มีจำนวนมากได้อย่างไร ?
Ax.7ทำแผนการใช้ IP Address ก็เหมือนกับการวางผังเมือง กำหนดบ้านเลขที่ ถ้าวางผังเมืองดี ไปรษณีย์ (คนที่ตามตรวจเช็กระบบ) ก็หาพบได้ง่ายนั้นแหละ ส่วนกฎเกณฑ์ ไม่มีตายตัว ขึ้นอยู่กับสถาพภูมิประเทศ (ตำแหน่งห้อง อาคาร และแผนกโครงสร้างองค์กร) ถ้าท่านวางแผนตั้งแต่เริ่มไม่ดี กำหนดเลข IP ไม่เหมาะสมกับการใช้งานในอนาคต เช่น ใครขอก่อนเอาไปก่อน มือใครยาวสาวได้ก็เอาไปกักตุนเยอะๆ วันหลังก็เต็ม IP ไม่มีแจกแล้วคนขอใหม่ ก็หาว่าเราขี้หวง และจะแบ่ง Secment ทีหลังก็ยาก เพราะในแต่ละแผนกงานเครื่องติดกันไม่เห็นมัน Run number เลย แล้วจะมาด่าตัวเองทีหลังว่า ออกบ้านเลขที่ประสาอะไร ใครทำหว่า !?! จะจับมา Run number ใหม่ภายหลังก็ยาก นอกจากจะต้องปรับแก้ทุกเครื่องใหม่หมดก็ไม่ง่าย เพราะคุณไม่สามารถทำได้พร้อมกันทุกเครื่องในเวลาเดียวกัน เครื่องแก้แล้วกับยังไม่ได้แก้ IP จะชนกันมั่วไปหมด และจะมีปัญหาเรื่องบุคคลที่ยึดมันถือมั่นอีกสารพัดเรื่องไรสาระ แต่ถ้าท่านมี Public IP ( IP จริง) ยิ่งจะต้องคิดหนักขึ้นไปอีก เพราะเลขที่ท่านให้เขาไปแล้ว เขาเอาไปจดทะเบียนโดเมน หรือเอาไปทำอะไรก็แล้วแต่สุดจะอ้าง จะเรียกคืนหรือเปลี่ยนเลข จะต้องแจ้งย้ายกันสนุกสนานไปกันใหญ่
ดังนั้นถ้าไม่อยากตามแก้ปัญหาในอนาคต มีแนวทางดังนี้
    - ศึกษาบทที่ 1 เลือกแบบติดตั้ง ที่เหมาะกับหน่วยงานของท่าน
    - เขียนผังอาคาร กำหนดตำแหน่งอุปกรณ์หลักๆ และบริเวณที่มีการใช้งาน ลงในกระดาษ
    - วาดเส้นทางเชื่อมต่อสายแลน ตามที่สามารถเดินสายจริงๆได้
    - นับจำนวนเครื่องที่คาดว่าจะมีใช้ในอนาคต ในแต่ละแผนก หรือบริเวณที่มีการใช้งาน ลงบนผัง (กำหนดเผื่อเป็นแผนกๆ ไว้ให้พอจะได้ไม่เป็นปัญหากับตัวเองทีหลัง)
    - เช็คจำนวน IP ที่ต้องใช้ ของแต่ละ Section และนับรวมทั้งหมด วางแผนกำหนด Class ที่ต้องการใช้งาน
    - พิมพ์ตารางกำหนด IP , แผนกงาน , ชื่อเครื่อง/ผู้รับผิดชอบ
    - การแจกเลข IP ห้ามแจกเลขแรก และเบอร์สุดท้ายของ Class กำหนดให้เป็นเลขสงวน
    - แบ่งช่วง IP ถ้าเป็นไปได้ควรจะลงตัว 128 . 64 , 32 , 16 , 8 ในแต่ละแผนกเผื่อใว้แบ่ง Sub class ในภายหลังได้สะดวกขึ้น (ข้อนี้ไม่บังคับนะแล้วแต่สะดวก) เช่นแผนกนี้คงจะมีคอมฯไม่เกิน 5 ตัว (เพราะว่ามีอัตรา จนท.แค่ 3-4 คน จะใช้คนละกี่เครื่อง?) เว้นไว้ให้ในตาราง IP ไว้เลย 8 บรรทัด เผื่อๆไป เพราะเป็น IP ภายในแจกเท่าไรก็ได้ แต่ถ้าเป็น IP จริงซึ่งมีน้อย แนะนำว่าอย่าเอา IP จริงไปแจกใครโดยไม่จำเป็น (โดยธรรมชาติลิงอยากได้แหวน ใช้คุ้มหรือเปล่าก็ไม่รู้) แจก IP ภายในให้ไปก่อน ถ้าเขาต้องการทำ Web หรือสามารถบริหาร Network ภายในแผนกเขาเองได้ค่อยเอาไป IP เดียวก่อน ไปแตกลูกเอาเอง กี่ร้อยเครื่องก็ตามใจ ถ้าอ้างว่าไม่พอ เพราะลูกสมุนเยอะแปลว่า ยังไม่มีความสามารถพอที่จะบริหาร Network ของเขาได้ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องมี Internet server เพิ่มค่อยขอมาใหม่
    - เมื่อแจก IP ให้ใครอย่าลืมจดบันทึก ในตาราง IP ด้วยกันตัวเองลืม แจกมั่วเสียเอง และจะได้สะดวกในการดูแลภายหลัง หรือไว้ใช้ในตอนวิเคราะห์ปัญหา แล้วส่งช่างไปดูแลแทนเราได้ตรงจุด ถ้าเป็นหน่วยงานที่ ที่ ฝ่ายบริหารไม่สามารถ ควบคุมบุคลากรกันได้ เช่นส่วนราชการบางแห่ง ควรทำแบบฟรอม การขอใช้ IP ให้เซ็นรับไป แอบใส่ข้อความในทำนองว่า "จะไม่ใช้เน็ตเวิร์คในทางเสื่อมเสีย หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน จะเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำบน IP ที่ขอไปทุกประการ" อ่านเพิ่มเติมในข้อ Q7.2
Qx.8 จะใช้ Linux เชื่อม LAN 2 วงที่อยู่คนละ IP ให้ต่อถึงกันได้หรือไม่ ?
Ax.8 ได้ครับ
    - ถ้ามีการ์ดแลน 2 แผ่น ให้กำหนด IP ของการ์ดแลน ตามรูป 3.3 เลื่อนลงมาข้างล่างกำหนดแผ่นที่ 2 ให้เป็น IP ตามวงที่เชื่อมต่ออยู่
    - ถ้ามีการ์ดแลนเพียงแผ่นเดียวให้ Alias IP บนการ์ดแผ่นเดียวให้มี 2 IP ตามหน้า 6-2
เมื่อ ping จากตัวแม่ เห็นเครื่องทั้ง 2 วงแล้ว ใช้ Firewall ตามบทที่ 16 เป็นตัวเชือมถึงกันตาม Police ที่ท่านต้องการ.
Qx.9 ลูกข่ายไม่สามารถ FTP ออกข้างนอกได้ ?
Ax.9 การให้เครื่องลูก ftp ได้ จะต้องเปิด ipchain ตามหน้า 16-3 ครับผม แต่ถ้าต้องการควบคุมอื่นๆอีก ให้ดูตามตัวอย่างหน้าถัดไป (อย่าลืมต้อง แก้ IP ให้ตรงกับหมายเลขที่กำลังใช้งานจริงอยู่นะครับ) ถ้าไม่เปิดไว้ ลูกข่ายจะไม่มีสิทธิออกไปข้างนอกเลยทุกบริการ รวมทั้งดูเวป แบบออกตรงไม่ผ่าน Proxy เมื่อทำตามตัวอย่างที่1 จะเปิดให้ตัวลูกออกไปข้างนอกทุกบริการ ยกเว้นการใช้ user ftp เข้า Server host บางแห่ง ที่มี Script ระบบป้องกันพิเศษย้าย port ไปเป็นเลขหลักหมื่น สูงกว่าเลขปกติที่ Firewall อนุญาต ส่วนการใช้งานปกติเช่น Anonymous FTP และการ Upload-Download สามารถใช้งานได้ไม่มีปัญหาครับผม
Qx.10 ใช้ LAN Card 2 แผ่นจะต้องเซ็ตอะไรบ้าง ?
Ax.10 การใช้ NIC 2 ใบ ตามรูป 1.3 หน้า 1-7 จะทำให้สามารถควบคุมลูกข่าย และการใช้งานดีขึ้น ซึ่งมีวิธีการเซ็ตทุกอย่างเหมือนเดิม แต่ต้องกำหนดค่า IP ให้กับการ์ดทั้ง 2 (วิธีเซ็ต IP ตามหน้า 3-3) และ ipchain ตามตัวอย่างหน้า 16-3 ใช้เป็นเลข IP ของตัวลูกวงใน ที่จะอนุญาตให้ออกได้ครับ
Qx.11 อยากให้ตัวลูกติดต่อผ่าน ipshare โดยตรง แต่ให้ linux จ่าย ip ให้สมาชิก linux ชี้ ไปที่ ipshare ที่มี สายโทรศัพท์ 2 เบอร์ จะกำหนดอย่งไร ?
Ax.11 ได้ครับ ให้ต่อตามผังหน้า 1-9 แล้วกำหนดเปิดบริการ DHCP ตามบทที่ 7 และหน้า 7-2 ให้ใส่เลข IP ของบรรทัดที่มีข้อความ router เป็นหมายเลข IP ของ IP Share และที่เครื่องลูกตั้งเป็น Obtain an IP automatically และตามทฤษฎีเขาว่าไม่ควรมี DHCP มากกว่า 1 ตัวในวง LAN เพราะอาจจะทำให้สับสนได้ว่าเครื่องลูกเครื่องใด ได้ IP มาจาก DHCP เครื่องไหน ดังนั้นควรไปเซตที่ IP Share ว่า Disable DHCP เพื่อป้องกันสับสน แต่จากการทดลองใช้งานจริง เปิด DHCP ทั้ง 2 เครื่อง ปรากฏว่า IP Share ไม่เคยแจก IP ได้ทันเครื่อง Linux เลย สังเกตุได้จากการเรียกคำสั่ง winipcfg แล้ว renew all (เปิด DHCP ทีละเครื่อง) ปรากฏว่า IP Share ใช้เวลาเป็นวินาที ส่วน Linux พอกด renew ปุ๊ปจะแสดง ip ขี้นเกือบทันทีเลย
ส่วนที่จะมีModem ต่อที่ IP Share กี่ตัวไม่ต้องกำหนดที่ Linux ให้กำหนดที่ตัว IP Share ว่าใช้ modem 1 หรือ 2 ตัวเงื่อนไขอย่างไร ip share คนละยี่ห้อจะแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่จะกำหนดได้ว่าให้ต่อโมเด็มตัวที่ 2 เมื่อไหร่ เช่น แบบ balance load (ต่อ 2 ตัวตลอดเวลา) , หรือ แบบมีเครื่องเชื่อมต่อมากกว่าจำนวนเครื่องที่ตั้งไว้ หรือแบบอื่นๆ ให้ดูจากคู่มือที่มากับ IP Share ของท่าน
Qx.12 ใช้ IP Share เป็น Router จะต้องทำอย่างไร ?
Ax.12 ทำได้ 2 วิธีครับ
    - วิธีที่ 1 ทำตามรูป หน้า 1-7 โดยเซ็ต gateway เป็นหมายเลขของ IP Share และค่า อื่นๆเป็นไปตามข้อมูลใต้รูป ซึ่งวิธีนี้จะสามารถควบคุมลูกข่ายได้หมด โดยใช้ card lan แผ่นที่ 2 เป็น gateway ให้ในวงลูกข่าย
    - วิธีที่ 2 ทำตามรูป หน้า 1-9 โดยเซ็ต gateway ของ linux เป็นหมายเลขของ IP Share และตัวลูกอาจกำหนดให้ linux เป็น gateway และ proxy หรือปล่อยให้ออกตรง(แต่จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก Server) ก็ได้
    - การกำหนดค่าอื่นๆ ลองอ่านจากบทสรุปในหน้าผนวก ข. อีกครั้งก็จะทำได้ ส่วนจะต่อโมเด็ม 1 หรือ 2 ตัวไม่ต้องแก้ไขที่ linux เพราะ modem ไม่ได้ต่ออยู่ที่ linux ส่วนการกำหนดค่าใน ipshare ว่าใช้ modem 1 หรือ 2 ตัวเงื่อนไขอย่างไร ip share คนละยี่ห้อจะแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่จะกำหนดได้ว่าให้ต่อโมเด็มตัวที่ 2 เมื่อไหร่ เช่น แบบ balance load (ต่อ 2 ตัวตลอดเวลา) , หรือ แบบมีเครื่องเชื่อมต่อมากกว่าจำนวนเครื่องที่ตั้งไว้ หรือแบบอื่นๆ ให้ดูจากคู่มือที่มากับ IP Share ของท่าน และเมื่อท่านใช้ IP Share ทำหน้าที่เป็น Router ให้กับเครื่อง linux แล้วเท่ากับว่า IP Share ไม่ต้องรับภาระการแชร์ Net ให้เครื่องอื่นๆ มีลูกคือ linux เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น จึงควรกำหนดที่ IP Share ทำงานแบบ balance load ใช้ multi PPP ด้วยจึงจะใช้งานได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ ที่ ISP จะต้องเปิด Function ที่รองรับ Multi PPP ด้วยจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด มิฉะนั้น IP Share จะไม่สามารถแบ่ง packet ออกไปคนละสายได้ จึงเสมือนใช้โมเด็มเพียงเครื่องเดียว
Qx.13 ใช้ IE ในเครื่องลูกที่เป็น local IP ไม่สามารถใช้ FTP download ได้ ?
Ax.13 สาเหตุเกิดเป็นการป้องกัน ไม่ให้ใช้ค่าย linux หรือ unix อื่นๆ และมักจะเกิดปัญหาใน IE 6 วิธีแก้ไข ให้เข้า IE แล้ว คลิกที่ Menu tools / internet option / advanced แล้วเข้าไป click check box เพื่อใส่เครื่องหมายหน้า use passive FTP ครับ สำหรับผู้ใช้ IE 5 จะไม่มี check box นี้ไม่ต้องตกใจมันใช้งานได้อยู่แล้วไม่มีปัญหาเพราะผู้ผลิตเขายังไม่ได้ป้องกันครับ
Qx.14 ใช้โปรแกรม FTP อื่นๆ ในเครื่องลูกไม่สามารถ Upload web ขึ้น server ได้ ?
Ax.14 เกิดจากโปรแกรมที่ใช้ Upload ทั่วๆ เมื่อติดตั้งเสร็จ เขาจะกำหนดค่าการใช้งานโดยติดต่อโดยตรงไม่ผ่าน Firewall เช่นการต่อด้วยโมเด็มเป็นต้น ดังนั้นการใช้งานในระบบเรา ที่มี Firewall จึงจำเป็นต้องบอกที่โปรแกรมที่เราใช้งาน ให้ทราบวิธีการติดต่อเสียก่อนเช่น
Cute FTP เข้าที่เมนู FTP / Setting / Firewall แล้วเลือกให้มีเครื่องหมายที่บรรทัด PASV mode
และโปรแกรมอื่นๆ ถ้าโปรแกรมใดมีปัญหาเช่น Dream ก็ให้แก้ไข ในทำนองเดียวกัน คือ หาดูที่กำหนดค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย และไฟวอร์ ให้เลือกเป็น Passave FTP
Qx.15 เครื่อง client เรียกชื่อ Server ผ่าน Brownser ไม่ได้แต่เรียกเบอร์ ip ได้ ? (กรณี ไม่ได้ใช้ Linux เป็น Gateway)
Ax.15 ถ้าปัญหานี้เกิดในกรณีที่ไม่ได้ใช้ Linux นี้เป็น Server โดยเซ็ตตัวลูกให้ออก Gateway ที่เป็น Router โดยตรง การค้น หาชื่อเครื่องของเครื่องลูก จึงไม่ได้ผ่านแวะมาทาง เครื่องที่คุณ ติดตั้งเลย มันจึงไม่สามารถจะรู้ได้ว่า host name ของเครื่อง ที่มาเกาะเพิ่มบนสายแลนเป็นใคร สามารถแก้ปัญหานี้ได้หลายวิธี นอกเหนือจากการที่ใช้ Linux เป็น Gateway ให้ลูกข่าย ดังที่ แนะนำไว้ที่ ข้อ Q 4.1 แล้ว ยังทำได้หลายวิธี เช่น

ถ้าได้ติดตั้ง DNS ตามบทที่ 4 อยู่แล้ว เพียงเซตที่ ตัวลูก (หรือเซ็ตที่ Router บางรุ่นก็เซตได้) ให้เซตค่า DNS เป็น IP ของเครื่อง Linux ซึ่งขณะนี้ได้ทำหน้าที่เป็น DNS ด้วยแล้ว จะได้ฟังก์ชั่นการทำงานของ DNS เน็กเวิร์คภายในองค์กรได้ และถ้าตัวเครื่อง DNS Server นี้เป็น IP จริงด้วยแล้ว ก็จะ สามารถใช้เป็น DNS สำหรับชาวเน็ตได้โดยสมบูรณ์

หรืออยากทำ MAP IP ไว้ในเครื่องลูกว่าเครื่องใด อยู่ IP ใดก็ทำได้ โดยเข้าไปเพิ่มตารางชื่อเครื่องไว้ที่เครื่องลูก ได้เอง ในไฟล์ HOSTS ทำดังนี้

[Windows XP]
Start / run แล้วพิมพ์
notepad C:\WINDOWS\system32\drivers\etc\HOSTS

หรือ

[Windows 98]
Start / run แล้วพิมพ์
notepad C:\WINDOWS\hosts

แล้วพิมพ์เพิ่มบรรทัดสุดท้าย เช่น
127.0.0.1 localhost
192.168.0.1 sample
192.168.0.1 www.sample.com
192.168.0.254 gateway

แล้วบันทึก ปิดคืนไป หลังจากนั้น เครื่องลูกเครื่องนี้ จะสามารถ ping หรือใช้ Browser ชื่อตามที่กำหนด นี้ได้โดยไม่ต้องใช้บริการผ่าน DNS ก็ได้ เป็นต้น

การแก้ปัญหา ประสพการณ์จากผู้ใช้ Linux และผู้มีเกียรติ ที่ได้กรุณาแนะนำมา เพื่อเผยแพร่
Other 01 การแปลี่ยนใช้ iptable แทน ipchains โดย คุณพัฒนศักดิ์ แก้วหอม

รวบรวมคำถาม-ตอบ โดย คณากร ศรีมิ่งมงคลกุล (บรรณาธิการ)
กลับไปดูสารบัญปัญหา   กลับไปหน้าหนังสือ
-- Line -- หากมีคำถามอื่นๆ นอกเหนือจากที่ตอบไปแล้ว หรือมีคำแนะนำ คำติชม อ่านข้อใดไม่ชัดเจน สอบถามมาได้โดย คลิกที่นี่ -- Line -- หมายเหตุ การตอบปัญหานี้จะเสนอการแก้ปัญหาที่เกิดจากผู้ใช้ในเวอร์ชั่นที่อ้างถึงคือ Redhad for server 2.0 ที่แถมไปพร้อมกับหนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 นี้เท่านั้น ส่วนผู้ใช้ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เลขหน้าจะใกล้เคียงกัน แต่สำหรับผู้ที่ใช้โปรแกรมจากแหล่งอื่น ตำแหน่งที่อยู่ของคำสั่งต่างๆ อาจไม่ตรงกัน หรือไม่มีคำสั่งบางคำสั่ง หรือทำตามแล้วไม่เหมือน เพราะโปรแกรมรุ่นที่อ้างถึงนี้ได้ ปรับปรุงแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งานจริง มาจนครบแล้ว และได้เพิ่มเครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบไว้พอสมควร ดังนั้นผู้ที่ใช้รุ่นอื่น อาจใช้ศึกษาเป็นแนวทางได้ แต่ควรจะหาข้อมูลจากแหล่งที่ท่านได้มาจะตอบได้ตรงประเด็นกว่า และถ้าท่านสอบถามมาเป็นของรุ่นอื่นที่ผมไม่เคยทดลองใช้ ต้องขออภัยเพราะผมอาจจะตอบได้ไม่ถูกต้อง -- Line -- Home กลับหน้าแรก    กลับหน้าสารบัญปัญหา    กลับไปหน้าหนังสือ    กลับไปหน้าเมื่อครู่นี้    กลับขึ้นข้างบน
Mail to ติดต่อ บ.ซายแอ็นซเทค จก. Mail to : us@scienctech.com